LINE ชี้เทรนด์คนไทยยุคใหม่ใช้ชีวิตบนดิจิตอลแพลตฟอร์ม เผยกลยุทธ์สร้าง LINE ให้เป็นมากกว่าแอพฯ แชท สู่สุดยอดแพลตฟอร์มไลฟ์สไตล์และธุรกิจแห่งอนาคต
LINE ผู้นำด้านแพลตฟอร์มบนมือถือยอดนิยมระดับโลก ชี้เทรนด์คนไทยยุคใหม่ใช้ชีวิตบนดิจิตอลแพลตฟอร์ม 1) Mobile First อัตราการใช้โมบายอินเทอร์เน็ตพุ่งสูง 2) Smartphone Becoming the Main TV Screen สมาร์ทโฟนคือหน้าจอหลัก 3) m-commerce และ social commerce ขยายช่องทางสู่การซื้อสินค้าบนมือถือ และ 4) O2O โอกาสทางธุรกิจจากออนไลน์สู่ออฟไลน์ เดินหน้าวางกลยุทธ์ในการสร้าง LINE ให้เป็นมากกว่าแอพพลิเคชั่นแชท สู่สุดยอดแพลตฟอร์มสำหรับไลฟ์สไตล์และธุรกิจแห่งอนาคต ผ่าน 5 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจเกม ธุรกิจคอนเทนต์ ธุรกิจโซลูชั่นสำหรับองค์กร ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และธุรกิจเพย์เมนต์
นายอริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ LINE ประเทศไทย กล่าวว่า ในปีนี้มีความเคลื่อนไหวในโลกดิจิตอลในเมืองไทยที่น่าจับตามองอยู่ 4 ประการ ได้แก่ Mobile First ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศ Mobile Firstประมาณ 2 ปี ด้วยอัตราการใช้โมบายอินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงถึง 40 ล้านคน โดย 33 ล้านคนเป็นผู้ใช้งาน LINE และคาดการณ์ว่าภายในปี 2560 นี้ ยอดผู้ใช้โมบายอินเทอร์เน็ตจะเพิ่มขึ้นถึง 50 ล้านคน หลังจากการเปิดให้บริการ 4G โดยคนไทยใช้เวลากับสมาร์ทโฟนเฉลี่ยสูงถึง 5.7 ชั่วโมงต่อวัน และใช้เวลากับ LINE ในการแชทนานถึง 83.7 นาทีต่อวัน เพื่อตอบรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใช้เวลาอยู่กับอินเทอร์เน็ตมากขึ้น LINE จึงมีบริการ Official Account (OA) สำหรับกลุ่มลูกค้าองค์กรในการเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจโดยการสื่อสารและสร้างการ มีส่วนร่วม ด้วยข้อมูลที่กลุ่มเป้าหมายสนใจในเวลาและช่องทางที่เหมาะสม ตลอดจนเพิ่มยอดขายให้กับองค์กรได้มากขึ้น สำหรับธุรกิจ SME ที่ปัจจุบันมีจำนวนมากกว่า 2.8 ล้านรายในเมืองไทย LINE มีบริการ LINE@ ที่ใช้งานง่ายและมีค่าใช้จ่ายไม่สูง ในการช่วยให้ลูกค้า SME และสตาร์ทอัพสื่อสารเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มีประสิทธิภาพ และช่วยในการขยายธุรกิจ
เทรนด์ที่ 2 Smartphones are becoming the Main TV Screen 41% ของคอนเทนต์ทีวีและวิดีโอชมผ่านหน้าจอทีวี ในขณะที่ 31% ชมผ่านสมาร์ทโฟน LINE เปิดตัว LINE TV กว่า 1 ปีที่ผ่านมา ภายใต้คอนเซ็ปต์ Free Fresh Fast ที่ให้ผู้ใช้ได้รับชมคอนเทนต์บันเทิงฟรีได้ก่อนใคร จากพันธมิตรความบันเทิงมากมาย อาทิ จีเอ็มเอ็ม ทีวี, จีเอ็มเอ็ม 25, ช่องวัน, เวิร์คพอยท์, ไทยรัฐ ทีวี, GDH559, ดรีม เอ็กซ์เพรส (เดกซ์), Vithita Animation, TrueVisions, TNN, TrueMusic, ทีไอจีเอ และเสือร้องไห้
ความ เคลื่อนไหวประการที่ 3 ที่น่าจับตามอง คือ m-commerce และ social commerce ผู้บริโภคที่ใช้ e-commerce เป็นประจำมีแนวโน้มที่จะเริ่มใช้ m-commerce และ social commerce ในการซื้อสินค้าและบริการ โดยจำนวนการซื้อขายออนไลน์ผ่านโมบายดีไวซ์มีสัดส่วนถึง 60% จากจำนวนการซื้อขายออนไลน์ทั้งหมด พร้อมกันนี้ได้มีการคาดการณ์อัตราการเติบโตของโมบายแบงก์กิ้งว่าจะสูงถึง 33% LINE มีบริการ LINE Pay แพลตฟอร์มการชำระเงินรูปแบบใหม่ที่สะดวกสบายและปลอดภัย ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนใช้งานแล้วกว่า 1.5 ล้านคน พร้อมกับ Pay by Official Account อีกหนึ่งฟีเจอร์ใหม่ที่จะช่วยให้องค์กรธุรกิจเปิดการขายสินค้าผ่านหน้า Official Account ของตนเองได้ทันที นอกจากนี้ยังมี LINE GIFTSHOP บริการส่งของขวัญรูปแบบใหม่ให้เพื่อนผ่าน LINE ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมาก็ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ใช้งาน โดยพบว่าผู้ใช้บริการ 55% ซื้อสินค้าเป็นของขวัญให้เพื่อน ส่วนที่เหลือซื้อให้กับตนเอง จึงเป็นอีกก้าวสำคัญของนวัตกรรม social commerce สำหรับผู้ประกอบการและผู้ใช้งาน ทั้งหมดนี้ถือเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าประเทศไทยได้เข้าสู่ยุค m-commerce และ social commerce แล้ว
เทรนด์ที่ 4 ซึ่งเป็นเทรนด์ใหม่ในปีนี้ คือ บริการ O2O หรือการขยายโอกาสทางธุรกิจจากออนไลน์สู่ออฟไลน์ โดยใช้สื่อออนไลน์ผลักดันให้เกิดทราฟฟิกหรือยอดขายทางออฟไลน์ ซึ่งสอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ปัจจุบันมีแอพพลิเคชั่นให้ดาวน์โหลดมากมาย ซึ่งคนส่ วนใหญ่ดาวน์โหลดเฉลี่ยเพียง 39 แอพฯ[5] ต่อหนึ่งดีไวซ์ และใช้งานจริงเพียง 17 แอพฯ LINE มีความเชื่อว่าแนวคิด ‘Apps within an App’ จะช่วยตอบโจทย์ได้ ทำให้การเข้าถึงบริการในชีวิตประจำวันผ่าน LINE เพียงช่องทางเดียวแทนที่การดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นมากมาย LINE ตั้งเป้าที่จะพัฒนาบริการในลักษณะนี้ ทั้งการพัฒนาขึ้นเองและการจับมือกับสตาร์ทอัพในเมืองไทย
ในปีนี้เป้า หมายสำคัญ คือ การสร้าง LINE ให้เป็นมากกว่าแอพพลิเคชั่นแชท ด้วยการเป็นแพลตฟอร์มทั้งสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปและองค์กรธุรกิจ ผู้ใช้ทั่วไปสามารถใช้บริการต่างๆ เพื่อเพิ่มความสุขในชีวิตผ่าน LINE ในขณะที่ลูกค้าองค์กรสามารถใช้ LINE ในการสร้างการรับรู้ สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมาย เพิ่มยอดขายให้กับสินค้าและบริการ ทำการซื้อขาย ในที่เดียวผ่าน LINE สมกับที่เป็น ‘LINE Beyond Chat’ ผ่าน 5 กลุ่มธุรกิจหลักของ LINE ได้แก่ ธุรกิจเกม (LINE GAME) ธุรกิจคอนเทนต์ (LINE TV, LINE MUSIC) ธุรกิจโซลูชั่นสำหรับองค์กร (LINE Official Account, LINE@) ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (LINE GIFTSHOP) และธุรกิจเพย์เมนต์ (LINE Pay) โดยตั้งเป้าเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการเหล่านี้ให้เทียบเท่ากับบริการแชท และยังมีแผนในการผนวกบริการที่มีอยู่เข้าด้วยกันภายใต้แอพพลิเคชั่นเดียว เป็นซิงเกิ้ลแพลตฟอร์มเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่าย เข้ามาอยู่ในทุกส่วนของชีวิตประจำวันของคน ซึ่งสิ่งเหล่านี้นอกจากจะช่วยตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ให้ผู้บริโภคสะดวกสบายและมี ความสุขในชีวิตมากขึ้นแล้ว ยังเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้แบรนด์ LINE เป็นที่ยอมรับและชื่นชอบในกลุ่มผู้บริโภคชาวไทย โดยล่าสุดจากการจัดอันดับ ‘Best Brand 2015’ โดยYouGov BrandIndex LINE ติดอันดับ 2 จากทั้งหมด 250 แบรนด์ที่ได้รับการกล่าวถึงในทางบวกมากที่สุดในเมืองไทย
Leave a Reply