Huawei เผยโฉม EMUI 11 พร้อมประกาศรายชื่อพันธมิตรร่วมพัฒนา AppGallery จากทั่วโลก ผนึกกำลังสร้างอีโคซิสเต็มที่แข็งแกร่ง ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ใช้งานทั่วโลก
• เผยรูปแบบใหม่ของ EMUI 11
• AppGallery ช่วยให้แบรนด์ดังทั้งระดับโลกและท้องถิ่นอย่าง TomTom, Bolt, Emirates, Sberbank และ Kumu ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ
• พร้อมริเริ่มโครงการใหม่ๆ เพื่อการทำงานร่วมกับพันธมิตรอย่างใกล้ชิด ซึ่งรวมถึงการสร้างแล็บความร่วมมือด้านอีโคซิสเต็มระดับโลกใหม่ถึง 3 แห่ง และศูนย์บริการนักพัฒนาระดับโลกแห่งใหม่ 5 แห่ง
หัวเว่ยเผยโฉม EMUI 11 และประกาศการอัปเดตใหม่ๆ บน AppGallery ณ งานประชุม Huawei Developer Conference 2020 (Together) ที่ทะเลสาบซงซาน มณฑลกว่างตง ประเทศจีน โดยเป็นการเผยโฉมระบบปฏิบัติการใหม่ของ EMUI
และเน้นย้ำถึงความสำเร็จของ AppGallery ในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2563 พร้อมสรุปรายละเอียดการสนับสนุนอย่างรอบด้านที่หัวเว่ยมอบให้แก่พันธมิตรทั่วโลก และแบ่งปันเรื่องราวความสำเร็จเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับบรรดานักพัฒนา
นายหวัง เฉิงลู่ (Wang Chenglu) ประธานฝ่ายซอฟต์แวร์ หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป กล่าวแนะนำฟีเจอร์หลักที่มากับระบบปฏิบัติการใหม่ ได้แก่ การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (UX) ใหม่โดยอิงหลักวิศวกรรมมนุษยปัจจัย (human factors) ฟีเจอร์ใหม่ๆ ด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย และการยกระดับประสบการณ์การใช้งานที่ครอบคลุมทุกสถานการณ์
ศิลปะการออกแบบตามหลักวิทยาศาสตร์เพื่อตอบสนองผู้ใช้งานอย่างลงตัว
การออกแบบผลิตภัณฑ์จะสมบูรณ์แบบได้ก็ต่อเมื่อใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ และหัวเว่ยก็ได้ค้นพบความสมดุลในอุดมคติระหว่างทั้งสองสิ่งและถ่ายทอดมันออกมาผ่าน EMUI 11 การออกแบบอย่างมีศิลปะนี้ถือเป็นการพลิกโฉมใหม่ เมื่อการเปลี่ยนโฉมและการตอบสนองของ UI ได้รับการพัฒนาให้เข้ากับการใช้งานมากที่สุด เพื่อพัฒนาประสบการณ์ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น
เมื่อได้แรงบันดาลใจใหม่ที่เป็นศิลปะและเสริมศักยภาพด้วยเทคโนโลยีใหม่ EMUI 11 จะเป็นเสมือนผืนผ้าใบสำหรับวาดภาพ ให้ผู้ใช้ได้แสดงความคิดสร้างสรรค์อันไร้พรมแดน ด้วยตัวเลือก Always-On Display (AOD) โฉมใหม่
ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้สามารถกำหนดหน้าจอได้ตามรสนิยมของตนเองผ่านศิลปะสมัยใหม่ AOD ใหม่นี้มีหน้าตาเหมือนจานสีที่มีแม่สี แดง เหลือง น้ำเงิน โดยได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานของพีต มองเดรียน (Piet Mondrian) ศิลปินนักวาดผู้มีชื่อเสียง
นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังมีอิสระที่จะออกแบบได้มากกว่ากรอบสีของมองเดรียน โดยเลือกสีจากรูปภาพของตนเองมาใช้เป็นจานสีบนหน้าจอ AOD ก็ได้ เช่น สามารถทำให้หน้าจอ AOD เข้ากับสีชุดของตนเองในแต่ละวัน เพียงถ่ายรูปเสื้อผ้าของตน แล้วจากนั้นอัลกอริทึม AI ก็จะถอดรหัสสีออกมาจากรูปภาพนั้นๆ และสร้างเป็นจานสีใหม่ที่เข้ากันเพื่อตั้งเป็นหน้าจอ AOD
ห้องแล็บสำหรับการวิจัยทางวิศวกรรมมนุษยปัจจัยของหัวเว่ย (Human-Factors Engineering Research Lab) มีส่วนช่วยอย่างมากต่อการออกแบบให้เข้ากับหลักการยศาสตร์ของ EMUI 11 โดยคณะผู้วิจัยประกอบด้วยนักวิชาการชั้นแนวหน้าด้านวิศวกรรมมนุษยปัจจัยจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ
ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยชิงหัว (Tsinghua University) มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง (Zhejiang University) และสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences) คณะผู้วิจัยได้วิเคราะห์ประสบการณ์ผู้ใช้อย่างละเอียดถี่ถ้วน แล้วพัฒนาภาพกับประสบการณ์แบบตอบสนองของ EMUI 11 ให้เหมาะสมที่สุด เพื่อให้ได้มาซึ่งความสะดวกสบายและความรื่นรมย์ของผู้ใช้ในระดับสูงสุด
แอนิเมชันเปลี่ยนฉากใหม่แบบ “ลองเทค” (long take) ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากเทคนิคชื่อเดียวกันในวงการภาพยนตร์ ช่วยให้ผู้ใช้มีสมาธิกับภารกิจในมือมากยิ่งขึ้น ผลการวิจัยทางวิศวกรรมมนุษยปัจจัยของหัวเว่ยชี้ว่า เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนฉากทั่วไปแล้ว การเปลี่ยนฉากแบบลองเทคทำให้ดวงตาขยับน้อยลงอย่างมีประสิทธิภาพ และลดความเหนื่อยล้าในขณะที่พัฒนาประสิทธิภาพการจดจำไปด้วย
เทคโนโลยีการทำงานได้บนหลายอุปกรณ์ที่พัฒนาไปอีกระดับ มอบประสบการณ์ใหม่แก่ผู้ใช้งาน
สิ่งที่อยู่เบื้องหลังฟีเจอร์การใช้งานอย่างครอบคลุมทุกสถานการณ์คือเทคโนโลยีที่ครอบคลุมการทำงานได้บนหลายอุปกรณ์ (Distribution technology) ของหัวเว่ย เช่น MeeTime และ Multi-Screen Collaboration ซึ่งได้กลายมาเป็นฟีเจอร์ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของ EMUI เทคโนโลยีอันเป็นนวัตกรรมนี้ทำให้อุปกรณ์สมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ
สามารถสร้างภาพและแบ่งปันศักยภาพของซอฟต์แวร์ระหว่างกันได้ โดยผู้ใช้จะไม่ต้องถูกผูกติดอยู่กับข้อจำกัดของฮาร์ดแวร์อีกต่อไป และมีอิสระที่จะกำหนดประสบการณ์การใช้งานของตนเองตามความต้องการและลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล
เมื่อได้รับการยกระดับด้วยเทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานได้หลากหลายอุปกรณ์ ฟีเจอร์ Multi-Screen Collaboration ขณะนี้รองรับการใช้งานพร้อมกันถึง 3 หน้าต่าง นักเรียนนักศึกษาสามารถใช้งานฟีเจอร์นี้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเมื่อต้องเรียนออนไลน์ เช่น สามารถใช้หน้าต่างแรกดูครูสอน ใช้หน้าต่างที่สองสำหรับเปิดแอปพลิเคชันจดโน้ต และใช้หน้าต่างที่สามคุยกับเพื่อนร่วมชั้นเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอนไปพร้อมกัน
นอกจากนี้ ฟีเจอร์ Multi-Screen Collaboration ยังทำให้เกิดการเชื่อมต่อที่ดีขึ้นระหว่างแล็ปท็อปและแท็บเล็ต เมื่อเชื่อมต่อกันแล้ว แท็บเล็ตสามารถทำหน้าที่เป็นเว็บแคมเสริม หรือเป็นจอที่สองของแล็ปท็อปก็ได้ ในขณะที่แล็ปท็อปก็สามารถใช้อุปกรณ์เสริมอื่นๆ ร่วมกับแท็บเล็ตได้
ผู้ใช้สามารถแก้ไขไฟล์เอกสารที่บันทึกไว้บนแล็ปท็อปได้จากบนแท็บเล็ต ไม่ว่าจะด้วยการสัมผัสหน้าจอหรือใช้ปากกาวาดภาพก็ได้ หรือระหว่างการประชุมงาน ผู้ใช้สามารถขีดเขียนเพิ่มเติมบนสไลด์พรีเซนเทชันได้เมื่อต้องการ เพื่อช่วยอธิบายไอเดียให้ชัดเจนยิ่งขึ้น หรือสามารถใช้จอที่สองค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้การหารือเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น
ระบบรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวที่ได้รับการรับรองสำหรับปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล
EMUI มอบบริการรักษาความปลอดภัยที่ใช้ง่ายเพื่อปกป้องข้อมูลของผู้ใช้สมาร์ทดีไวซ์หัวเว่ยเสมอมา ในส่วนกลไกระบบนั้น TEE OS ของ EMUI ได้รับผลการประเมินถึง CC EAL5 + ซึ่งถือเป็นขั้นสูงสุดของการวัดระดับความปลอดภัยของระบบปฏิบัติการไมโครเคอร์เนลเพื่อการพาณิชย์ของโลก หัวเว่ยปฏิบัติตามข้อบังคับในระดับท้องถิ่น และระดับนานาชาติเกี่ยวกับข้อมูลผู้ใช้ ทั้ง General Data Protection Regulation (GDPR) ของสหภาพยุโรป
และ Generally Accepted Privacy Principles (GAPP) โดยปัจจุบันหัวเว่ยได้รับใบรับรองแล้วทั้ง ISO27701 และ ePrivacyseal ซึ่งทั้งหมดนี้นับเป็นการรับรองมาตรฐานที่ทรงอิทธิพลสูงสุดในยุโรป เรียกได้ว่าเป็นการยืนยันพันธกิจของหัวเว่ยกับความมุ่งมั่นในการรักษามาตรฐานระดับโลกในทุกขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่การออกแบบ การค้นคว้าและพัฒนา การดูแลรักษา ไปจนถึงการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้
EMUI 11 ยังมาพร้อมฟีเจอร์รักษาความเป็นส่วนตัวใหม่ โดยในขณะที่ส่งภาพ ผู้ใช้สามารถปกปิดข้อมูลละเอียดอ่อน เช่น สถานที่ เวลา และรายละเอียดของตัวเครื่องก่อนส่งได้อย่างง่ายดาย บันทึกแบบเข้ารหัสก็ช่วยให้ผู้ใช้จดข้อมูลส่วนตัวได้โดยจำกัดการเข้าถึงด้วยรหัส PIN หรือระบบสแกน
หัวเว่ยยังเปิดเผยเกี่ยวกับอัปเดตสำคัญบน AppGallery ในงาน Huawei Developer Conference 2020 (Together) โดยนายหวัง เหยียนหมิน ประธานฝ่ายพันธมิตรระดับโลกและการพัฒนาสิ่งแวดล้อม หัวเว่ย บิสสิเนส กรุ๊ป ได้ย้ำถึงความสำเร็จของ Huawei AppGallery ในสามไตรมาสแรกของปี 2020 เกี่ยวกับการสนับสนุนพันธมิตรระดับโลกของหัวเว่ย และแบ่งปันเรื่องราวความสำเร็จเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้แก่นักพัฒนา
“ถึงแม้จะมีความท้าทายมากขึ้น AppGallery และอีโคซิสเต็มของ Huawei Mobile Services (HMS) ก็ยังคงมีความเติบโตในปีนี้ ซึ่งต้องขอขอบคุณพันธมิตรของเรา ด้วยการสนับสนุน และความใส่ใจที่แข็งแกร่ง เราจะเดินหน้าลงทุนในอีโคซิสเต็มเพื่อสร้างสรรค์หนึ่งในสามสุดยอดแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันระดับโลก
เรามั่นใจว่าหากหัวเว่ยทำงานร่วมกันกับพันธมิตรอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เราจะช่วยให้พวกเขาเติบโต และบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้ โดยเฉพาะพันธมิตรที่เป็นที่นิยมในท้องถิ่นที่ต้องการขยายธุรกิจไปสู่ตลาดโลก” นายหวัง เหยียนหมิน กล่าว
ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ด้วยแอปฯ ท้องถิ่นที่หลากหลาย
จุดมุ่งหมายหลักของ AppGallery คือการเข้าถึงความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้ในภูมิภาคต่างๆ และมอบบริการแอปพลิเคชันคุณภาพที่ตอบโจทย์ความต้องการนั้นๆ กลยุทธ์ ‘Global + Local strategy’ ของ AppGallery คือแนวคิดสร้างสรรค์ในการจัดรายการแอปฯ ที่ทำให้ผู้บริโภคได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่เหนือระดับขึ้นด้วยระบบที่เน้นแอปฯ ยอดนิยมในท้องถิ่น
แอปพลิเคชัน
และบริการบางส่วนที่เป็นที่นิยมระดับโลกจะคงความเป็นตัวเลือกหลักสำหรับผู้บริโภคทั่วโลก อีโคซิสเต็มของหัวเว่ยยังคงเติบโตจากการสนับสนุนของพันธมิตรระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น Bolt, Deezer, Foodpanda, TomTom Go Navigation, LINE, Qwant และ Telegram ที่มีแอปพลิเคชันให้ดาวน์โหลดบน AppGallery เพื่อมอบคุณภาพชีวิตที่สะดวกสบายมากขึ้นให้ผู้ใช้
นักพัฒนาท้องถิ่นเองก็เล็งเห็นประโยชน์หลากหลายที่ได้จากการพัฒนาแอปบน AppGallery เนื่องจากผู้บริโภคย่อมต้องการใช้แอปฯ และบริการในท้องถิ่นของตนเอง ในเอเชีย-แปซิฟิก แอปฯ สำหรับการท่องเที่ยวอย่าง Agoda และแอปฯ อีคอมเมิร์ซชื่อดังอย่าง Lazada ก็มีให้ดาวน์โหลดบน AppGallery เช่นกัน
นักพัฒนาคือหัวใจสำคัญของนวัตกรรมหัวเว่ย
ปัจจุบัน มีพันธมิตรหลายรายที่กำลังเข้าร่วมใน AppGallery เพื่อใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยของหัวเว่ยและ HMS Core มาช่วยให้ภาคธุรกิจดั้งเดิมสามารถเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งระบบ HMS Core ที่เปิดเต็มรูปแบบของหัวเว่ยนั้นจะช่วยเร่งนวัตกรรมแอปฯ และยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้ อีกทั้งความสามารถและบริการเหล่านี้ยังทำให้ผู้ใช้ได้มีโอกาสเพลิดเพลินไปกับประสบการณ์ที่แตกต่างจากหลากหลายแอปฯ และยังเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับนักพัฒนาด้วยเช่นกัน
Grabjobs เป็นแพลตฟอร์มการจัดหางานชั้นนำในเอเชีย ได้ผสานความร่วมมือกับ Caas Kit ของหัวเว่ย ซึ่งช่วยให้สามารถดำเนินการสรรหาบุคลากรและสัมภาษณ์ภายในแอปฯ ได้ ส่วนการชำระเงินด้วยการจดจำใบหน้าแบบ 3 มิติผ่าน PayBy ที่สนับสนุนโดย Security kit นั้นก็ช่วยให้การชำระเงินมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน Sweet Selfie ยังได้เพิ่มโหมดกลางคืนสุดพิเศษและระบบป้องกันการสั่นไหวในฟีเจอร์ของแอปฯ หลังจากที่รวมเข้ากับ Camera kit ของหัวเว่ยอีกด้วย
การสนับสนุนอย่างเต็มรูปแบบของ AppGallery ช่วยให้พันธมิตรประสบความสำเร็จทางธุรกิจ
AppGallery ให้การสนับสนุนการดำเนินงานอย่างเต็มรูปแบบกับนักพัฒนาทั่วโลก พร้อมช่วยพวกเขาในการปลดล็อกโอกาสใหม่ ๆ เช่น การดำเนินงานข้ามภูมิภาค และการก้าวเข้าสู่การทำงานระดับโลก ซึ่งพันธมิตรมากมายจากหลากหลายภูมิภาค ต่างได้รับประโยชน์จาก AppGallery มาจนถึงปัจจุบัน
TomTom หนึ่งในแบรนด์ระบบนำทางชั้นนำของโลก มีทั้งแอปฯ นำทางยอดนิยมอย่าง TomTom Go Navigation และ TomTom AmiGO อยู่ใน AppGallery โดยการร่วมมือด้านการตลาดกับหัวเว่ยครั้งนี้ ทำให้แอปฯ ต่าง ๆ อย่าง TomTom AmiGO มีอัตราการดาวน์โหลดเพิ่มขึ้นถึง 22 เท่า
ขณะที่ Kumu แอปฯ ถ่ายทอดสดทางทีวีจากฟิลิปปินส์ที่มาร่วมมือกับ AppGallery เพื่อเปิดตัวแคมเปญวันแม่ก็มีผู้ใช้งานระดับพรีเมียมเพิ่มขึ้น 220% และทำรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 40 เท่าในช่วง 15 วันแรก โดยปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ช่วยผลักดันพันธมิตรเข้าสู่ตลาดจีนมาแล้วกว่า 700 ราย
อัปเดต EMUI 11 (Beta) ให้กับดีไวซ์ 10 รุ่น
ภายในงาน หัวเว่ยยังได้ประกาศถึง EMUI 11 (Beta) ที่จะปล่อยให้มีการอัปเดตกับมือถือ และแท็บเล็ตในหัวเว่ย กับชุดแรกที่จะได้รับการอัปเดต EMUI 11 (Beta) คือ Huawei P40, Huawei P40 Pro, Huawei P40 Pro+, Huawei Mate 30
Huawei Mate 30 5G, Huawei Mate 30 Pro, Huawei Mate 30 Pro 5G, PORSCHE DESIGN Huawei Mate 30 RS, Huawei MatePad Pro และ Huawei MatePad Pro 5G ซึ่ง EMUI 11 (Beta) จะขยายการอัปเดตไปถึง Honor 30, Honor V30, Huawei nova 7 และอุปกรณ์รุ่นอื่น ๆ ในภายหลัง
สามารถค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ Huawei Developer website หรือ Huawei Developer Forum
Leave a Reply