Belkin แนะนำเทคนิคในการเลือกสายชาร์จ microUSB / Lightning

belkin_mixitup-metallic_fb_1600x1200_r01_v01

เชื่อว่าหลายๆ ท่านที่ใช้สมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ ต้องประสบปัญหาสายชาร์จ หัก ชำรุด เขี้ยวจม หรือสายขาดภายใน ทำให้ต้องคอยเปลี่ยนสายชาร์จอยู่บ่อยๆ และก็มีหลายท่านที่ไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ จึงยอมที่จะใช้สายชาร์จราคาถูก โดยไม่ต้องเสียดายหากจะโยนมันทิ้งไป หรืออยากได้สายชาร์จที่มีสีสัน สลับวันใช้งาน ฯลฯ วันนี้เบลกิ้นมีข้อคิดดีๆ ช่วยกระเทาะไอเดีย ให้ผู้ใช้งานหมดปัญหาสายชาร์จ และเลือกสายชาร์จโดนใจตามไลฟ์สไตล์เรา

belkin_Lightning_F8J144bt04_Metallic

ก่อนอื่นคุณคงต้องถามตัวเองก่อนว่า คุณใช้สมาร์ทดีไวซ์รุ่นอะไรบ้าง เพราะในปัจจุบันหลายแบรนด์เริ่มแบ่งย่อยซีรีย์สายชาร์จตามโทรศัพท์มือถือ ลักษณะหัวชาร์จจึงเปลี่ยนไปตามรุ่นและดีไซน์ หากใช้ขนาดที่ไม่พอดีกัน จะทำให้รับปริมาณกระแสไฟได้ไม่เต็มที่ ใช้เวลาไปกับการชาร์จนานเกินไปได้ เช่นกรณีหัวชาร์จ iPhone 4 กับ iPhone 5 ก็คนละขนาดกัน ทำให้สายชาร์จต้องเริ่มแตกซีรีย์ย่อยมากขึ้นกว่าแต่ก่อน

ลำดับต่อมาคือกำลังไฟที่ดีไวซ์หรืออุปกรณ์ต้องการ โดยปกติแล้วกระแสไฟสำหรับสมาร์ทโฟนจะอยู่ช่วงระหว่าง 1A – 2.4A โดยที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ย่อมต้องการกำลังไฟต่างกัน ความสำคัญของการทราบถึงกระแสไฟ เพื่อให้ผู้ใช้งานเลือกใช้สายชาร์จที่รองรับกำลังไฟนั้นๆ ได้ ไปจนถึงตัวอะแดปเตอร์ กำลังไฟที่ใช้จะมีผลอย่างมากกับทั้งตัวเครื่องและสายชาร์จ เพราะหากชาร์จในกำลังไฟที่น้อยเกินไป เช่นการชาร์จแท็บเล็ต (กำลังไฟ 2.0A) ผ่านพอร์ต USB 2.0 ที่ให้กำลังไฟเพียง 0.5 แอมป์จะทำให้เครื่องหน่วง ระบบไฟฟ้าและแบตเตอรี่เครื่องภายในรวน แต่หากใช้กำลังไฟที่สูงเกินไป ก็อาจทำให้เครื่องร้อน และหากสายชาร์จมีขนาดเล็ก ความร้อนนี้ก็อาจทำให้สายกรอบและขาดได้ในที่สุด

นอกจากคุณสมบัติเบื้องต้นแล้ว ผู้ใช้งานควรเลือกใช้สายชาร์จให้ถูกรสนิยม ตรงกับลักษณะการทำงาน และความต้องการ ไลฟ์สไตล์ ดังต่อไปนี้

สายชาร์จดีๆ สำหรับพวก Multi-tasking ต้องย๊าวยาวไว้ก่อน: เส้นหนาๆ ยาวๆ ของสายชาร์จเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานในวงกว้าง ด้วยความยาวกว่า 1-5 เมตรเอื้อประโยชน์ในการทำงานค่อนข้างมาก สามารถชาร์จแบตเตอรี่ไปพร้อมกับใช้งานดีไวซ์นั้นๆ อย่างสะดวกสบาย ผลสำรวจจาก 7 ประเทศพบว่ากว่า 60% ของคนทั่วไปใช้งานมือถือจนกระทั่งหลับ โดยมีประเทศอินเดีย (74%) และประเทศจีน (70%) เป็นลำดับต้นๆ และอีก 57% นำโทรศัพท์เข้าไปใช้ในห้องน้ำ (KRC Research,3 Aug 2015) การชาร์จอุปกรณ์ไม่ได้อยู่เพียงโต๊ะทำงานอีกต่อไป ผู้ใช้งานจะต้องสามารถชาร์จมือถือ ณ เวลาใดก็ตามที่เขาเหล่านั้นต้องการ ดังนั้นสายชาร์จยาวจึงเป็นคำตอบที่ดีที่สุด

สำหรับสายชาร์จคุณภาพเยี่ยมบางแบรนด์จะเสริมอุปกรณ์เสริมอย่าง electric booster เข้าไป เพื่อกระตุ้นกระแสไฟให้ถึงปลายทางในระยะเวลาเท่าเดิม สามารถจ่ายไฟได้คงที่ และได้แรงดันเหมาะสมกับการใช้งาน

สายชาร์จสั้น กะทัดรัดสำหรับขาลุย: สำหรับคนที่ไม่อยากดูแลทนุถนอมสายชาร์จมากนัก เบลกิ้นขอแนะนำสายชาร์จสั้นๆ ไซส์กะทัดรัด หยิบถนัดมือ และสะดวกพกพา ให้ผู้ใช้งานชาร์จทิ้งไว้ขณะสะพายกระเป๋าตะลอนไปไหนต่อไหน ที่สำคัญยังรักษาง่าย ไม่ต้องระวังตัวสายไปพันกับของใช้ในกระเป๋าจนหักงอ เสียหาย

ใครๆ ก็ต้องการสายชาร์จหนังเหนียว: หลายคนคงเบื่อกับการการเปลี่ยนสายชาร์จบ่อยๆ และพยายามจะหาสายชาร์จที่ได้คุณภาพในการชาร์จและโอนถ่ายข้อมูล และอายุการใช้งาน จุดบอดของสายชาร์จส่วนใหญ่จะอยู่ที่ข้อต่อหัวปลั๊ก และบริเวณสายไฟที่มักหักชำรุด เสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้

บางเคสก็เกิดจากความร้อนแฝงที่สะสมมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อชาร์จจนสายไฟด้านในขาด หรือพลาสติกที่หุ้มละลาย หรือบางเคสอาจเกิดจากการเก็บรักษาผิดวิธี ม้วนหักงอสายชาร์จจนเสียรูปทรงไป เช่นเดียวกันกับบริเวณข้อต่อปลั๊ก ที่มักจะหักเมื่อใช้งานไปได้ซักระยะหนึ่ง

คุณภาพการผลิตจึงเป็นสูตรสำคัญที่ช่วยต่ออายุการใช้งานให้นานขึ้น บริเวณสายพลาสติกจะต้องเหนียว และมีความดีดตัวสูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานในรูปแบบต่างๆ หรืออาจเป็นประเภทสายถักที่ห่อหุ้มสายไฟภายในถึง 5 ชั้น ในขณะที่ส่วนหัวปลั๊ก ควรใช้วัสดุที่ทนทานต่อความร้อน และน้ำหนักมือ ดังเช่นวัสดุประเภทอลูมิเนียม อัลลอย ต่อยอดอายุใช้งานได้นานยิ่งกว่าสายชาร์จทั่วๆไปแน่นอน

สายชาร์จดีๆ ต้องไม่มีปัญหาเวลาชาร์จหรือซิงค์: เคยหรือไม่ เมื่อเชื่อมต่อ USB cable เข้ากับคอมพิวเตอร์ แต่กลับพบว่าเครื่องไม่สามารถอ่านข้อมูล หรือตรวจจับดีไวซ์ที่เชื่อมต่ออยู่ได้ สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะด้านในพอร์ต mini B หัก หรือเสียทรงไป หรืออีกกรณีที่ขนาดพอร์ต USB ไม่ได้มาตรฐาน ยิ่งไปกว่านั้น วัสดุคุณภาพต่ำจะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลไม่สะดวก ซึ่งอาจส่งผลให้เครื่องร้อนจนระบบเสียหายหรือทำงานนาน

สายชาร์จดีๆ ใช้แล้วต้องปลอดภัย: ประเด็นหลักที่ผู้ใช้งานควรคำนึงถึงมากสุดก่อนเลือกใช้งาน โดยสายชาร์จที่ดีควรมีระบบป้องกัน ดังเช่น ระบบปรับกระแสไฟฟ้าให้สม่ำเสมอก่อนนำกระแสไฟเข้าเครื่องดีไวซ์ หรือระบบตัดไฟกรณีที่เครื่องรับกระแสเกินความต้องการ รวมถึงการใช้ตัวนำไฟฟ้าที่ดีอย่างทองแดง เพื่อให้กระแสไฟฟ้าวิ่งไหลลื่น ไร้ปัญหาติดขัดใดๆ

สายชาร์จดูดีต้องมีหลากสี มีสไตล์แบบแฟชั่นนิสต้า: กฏพื้นฐานอย่าง Back to basic อาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป แอคเซสซอรี่ที่ใช้อย่างสีขาวหรือดำที่แม้จะเป็นสูตรสำเร็จที่ลงตัว ก็อาจจะเอ้าท์ เพราะผู้คนเริ่มถามหาสีสันที่บ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้งานมากขึ้น ไม่ว่าจะเล่นโทนฉูดฉาดบนพื้นพลาสติกเรียบ หรือแต่งเติมด้วยลายถักแมตต์กับสีหรูโทนเงิน ทอง ก็มีให้เลือกซื้อได้ง่ายกว่าแต่ก่อนยิ่งขึ้น

เลือกสายชาร์จที่แบรนด์เป็นที่ยอมรับ: การแข่งขันที่สูงมากทำให้เกิดกลยุทธ์ด้านราคา  แต่ท่านทราบไหมว่า ไม่มีของดี ราคาถูก มีแต่ของดี ราคาเหมาะสม ราคาเหมาะสม ไม่ได้หมายความว่าถูก แต่เหมาะสมกับคุณภาพ วัสดุ การออกแบบ การใช้งานที่ใช่  ซื้อของราคาถูก แต่เสียบ่อยหรือในกรณีสายชาร์จที่เห็นกันบ่อยๆ ก็คือ ความปลอดภัยระหว่างการชาร์จ หรือการใช้งาน  เลือกสายชาร์จที่ดี ราคาเหมาะสม คือข้อแนะนำ

ใครจะเลือกใช้ 7 ข้อไหนก็ขอให้แมตท์กับไลฟ์สไตล์วันทำงาน หรือวันว่าง ๆ ก็แล้วกัน