ไขปริศนา! เล่นมือถือนานๆ ตาจะบอดจริงหรือไม่ ไปหาคำตอบกันเลย

ไขปริศนา! เล่นมือถือนานๆ ตาจะบอดจริงหรือไม่ ไปหาคำตอบกันเลย

สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ในยุคปัจจุบันเราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่ามือถือสมาร์ทโฟนได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น เป็นเหตุให้ผู้ใช้งานอย่างเราๆ เริ่มตื่นตระหนกกับปัญหาที่อาจตามมาสำหรับการใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ และในขณะนี้พบว่ามีโรคใหม่ๆ เกิดขึ้นกับผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น นั่นก็คือโรคคอมพิวเตอร์ วิชั่น ซินโดรม (Computer Vision Syndrome)

20150702103647

สำหรับโรคคอมพิวเตอร์ วิชั่น ซินโดรม จะทำให้ผู้ใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวมีอาการตาแดง แสบตา เคืองตา น้ำไหล ตามัวเป็นพักๆ หรือเกิดภาวะสายตาสั้นชั่วคราว ทั้งยังมีอาการปวดคอ ปวดหลัง เนื่องจากการนั่งในท่าเดิมติดต่อกันเป็นเวลานานแล้ว และหลายคนอาจจะยังมีข้อสงสัยว่าการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟนมันอันตรายจนสามารถทำให้ตาบอดได้หรือไม่

คำตอบคือ “เป็นไปไม่ได้” เนื่องจากเท่าที่ทราบสิ่งที่ทำให้ผู้ใช้อย่างเราๆ กังวลใจว่าจะตาบอดจากการใช้คอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟน เกิดจากเรื่องรังสียูวี (UV) และแสงสีฟ้า (Blue Light) งั้นเราไปทำความรู้จักเจ้าสองสิ่งนี้กันเลยค่ะ

screen-15.59.35[26.12.2016]

รังสียูวี (UV) : รังสียูวีเกิดขึ้นจากดวงอาทิตย์ ซึ่งจะมีทั้งยูวีเอ (UVA) ยูวีบี (UVB) และยูวีซี (UVC) เจ้ายูวีซีจะถูกโอโซนของโลกเป็นตัวป้องกันไว้ ส่วนยูวีเอ และยูวีบีนั้นจะทะลุเข้ามาภายในโลกของเราได้ แต่โอกาสที่จะเข้าไปทำลายจอประสาทตามีน้อยมาก เนื่องจากรังสียูวีเอ และยูวีบีจะถูกดูดกลืนแสงไว้ 99% และตกไปยังจอประสาทตาเพียง 1% เท่านั้น และที่สำคัญมันไม่มีรังสีเหล่านี้พุ่งออกมาจากคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟน

BackImage+4

แสงสีฟ้า (Blue Light) : คือแสงที่มีความยาวคลื่นสั้นอยู่ที่ 380 – 500 นาโนเมตร ทำให้มีการกระจายตัวของแสงสีได้มาก จึงทำให้มีอาการปวดตา สายตาล้าได้ง่าย แต่แสงสีฟ้าไม่ได้มีแต่โทษเท่านั้น ประโยชน์ของแสงสีฟ้าช่วยกระตุ้นให้ร่างกายมีการตื่นตัว การบล็อกใช้แสงสีนี้อาจมีผลต่อระบบการนอน และการตื่นของร่างกายได้

โดยแสงสีฟ้าสามารถพบได้ทั่วไปจากแสงอาทิตย์ จากหลอดไฟ จากคอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟน แต่แสงสีฟ้าไม่ได้ทำให้ผู้ใช้ตาบอดแต่อย่างใด เพียงแต่ทำให้ผู้ใช้ไม่สบายตา เมื่อใช้คอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟนเป็นเวลานานๆ อีกทั้งคำพูดที่มีคนกล่าวไว้ว่า การใช้มือถือในที่มืด จะทำให้เกิดจอประสาทตาเสื่อม หรือจอประสาทตาหลุดลอก นั้นไม่เป็นความจริงอย่างมาก

เพราะจากงานวิจัยที่น่าเชื่อถือก็ยังไม่พบความสัมพันธ์ของ “แสงสีฟ้า” กับ “การเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม” อย่างชัดเจน เพราะโรคนี้เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ไม่ใช่แค่แสงสีฟ้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

1

กล่าวโดยสรุปคือ การใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟนในที่มืด ไม่ได้ทำให้ตาบอด แต่จะทำให้เกิดความไม่สบายตามากกว่าการเล่นขณะเปิดไฟ เพราะจะต้องเพ่งมากกว่าปกติ และมีแสงสะท้อนเข้าตามากกว่าปกติ ทำให้เกิดความไม่สบายตา ทำให้ตาล้ามากขึ้น อาการจากการใช้อุปกรณ์เหล่านี้จะเป็นอาการเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อพักและหยุดใช้งานไป ก็จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิมได้

ข้อมูล : จากบทความในนิตยสาร @Rama http://med.mahidol.ac.th/index.php
เขียนโดย อ.พญ.วฎาการ วุฒิศิริ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ manager