รีวิว Google Pixel C แท็บเล็ตประสิทธิภาพสูงพร้อมคีย์บอร์ดแม่เหล็กสุดเจ๋ง
คนไทยส่วนใหญ่อาจไม่รู้จักและเคยเห็น Pixel C เพราะ Google Store เปิดจำหน่ายตรงเหมือนกับสมาร์ทโฟนตระกูล Nexus แน่นอนว่ายังไม่เปิดจำหน่ายให้กับลูกค้าชาวไทย แต่สามารถหิ้วจากต่างประเทศหรือสั่งซื้อผ่านร้านค้ารับหิ้วได้ Pixel C เป็นแท็บเล็ตระบบปฏิบัติการ Android ที่โดดเด่นด้านประสิทธิภาพ สเปค และแบตเตอรี่ เป็นคู่แข่งของ Apple iPad Pro และ Microsoft Surface ที่หลายคนมองข้าม Pixel C ไป ทั้งที่ Pixel C ถูกจำหน่ายไปแล้วเป็นเวลาเกือบ 9 เดือน แต่ก็ไม่ได้รับความนิยม เป็นเพราะอะไร มาดูกัน
Pixel C กับสเปคที่แรงระดับแถวหน้า
- OS : Android 7.0 Nugat
- Chip : NVIDIA Tegra X1
- CPU : Octa-core 1.9 GHz 64-bit
- GPU : Maxwell 256 Core 1.0 GHz รองรับ OpenGL ES 3.2 และ Vulkan
- Memory : LPDDR4 3GB
- Storage : 32GB / 64GB
- Display : หน้าจอ LTPS LCD ขนาด 10.2 นิ้ว ความละเอียด 2,560 x 1,800 พิกเซล (~308 dpi) รองรับมัลติทัช 10 จุด
- Camera : กล้องหลังความละเอียด 8.1MP (3,280 x 2,460) กล้องหน้าความละเอียด 2.1MP (1,920 x 1,080) รองรับการถ่ายวีดีโอ 1080p ทั้งกล้องหน้าและหลัง
- Dimension : 24.2 x 17.9 x 0.7 เซนติเมตร
- Weight : 517 กรัม (คีย์บอร์ดอีก 399 กรัม)
- Battery : Li-Polymer ความจุ 9000mAh
- Sensor
- Accelerometer
- Gyroscope
- Ambient Light
- Compass
- Proxymity
- อื่น ๆ
- Bluetooth 4.1 + HS
- WiFi 802.11 b/g/n/ac + MIMO + Dual Band
- USB Type-C 3.1
- ลำโพง Stereo
- Microphone x 4
- ช่องเสียบหูฟัง 3.5mm
- มี GPS
- ไม่มี NFC
- ไม่มีช่องใส่ซิมการ์ด
แกะกล่อง
Google Pixel C ที่นำมารีวิวในครั้งนี้ เป็นรุ่น 32GB (ราคา $499) พร้อมคีย์บอร์ดเข้าชุดที่จำหน่ายแยกกัน (ราคา $149) รวมแล้วคิดเป็นเงินไทย ก็ประมาณ 25,000 บาท แล้วแต่ว่าร้านรับหิ้ว จะคิดกำไรแค่ไหนตามที่ตกลงกัน เพราะสินค้ารุ่นนี้ ปกติจะไม่สต็อก เมื่อมีการสั่งซื้อ จึงจะหิ้วมาจากต่างประเทศ
Pixel C พร้อมคีย์บอร์ดประกบกัน มองดูคล้าย Notebook
กล้องหลัง ปุ่ม Volume และ Power รวมอยู่บริเวณมุมนี้
ลำโพงสเตอริโอ มีทั้งฝั่งซ้ายและขวา อยู่ตำแหน่งจุดศูนย์กลางของตัวเครื่อง
พอร์ต USB-C สำหรับชาร์จไฟและต่ออุปกรณ์เสริม
แถบไฟแสดงสถานะการทำงาน ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป
ลำโพงอีกข้างหนึ่ง
ช่องต่อหูฟัง
สลัก Serial Number ไว้ที่ขอบตัวเครื่อง
คว่ำดูใต้คีย์บอร์ด มีฐานรองกันลื่น
กล่อง Pixel C Keyboard มีภาพอธิบายการใช้งาน
Adapter แบบถอดสายไม่ได้ ขั้วต่อแบบ USB-C
เคาะด้านหลังตัวเครื่องสองครั้ง ตรงที่เป็นอะลูมิเนียม (ในภาพเป็นการคว่ำหน้าจอลง) จะปรากฏไฟแสดงระดับแบตเตอรี่ ในภาพคือ 3/4 ขีด หมายถึงอยู่ในช่วง 51-75%
แต่เมื่อเริ่มเปิดใช้งาน แถบไฟตรงนี้ เปลี่ยนเป็นไฟ 4 สีตามสไตล์สีของ Google
ดีไซน์ด้านหน้า ดูคล้าย iPad กับคีย์บอร์ดไร้สายทั่วไป
กล้องหน้าความละเอียด 2.1 ล้านพิกเซล (Full HD) ที่ให้ภาพคมชัดทีเดียว แต่ภาพมืดไปหน่อย
ส่วนใหญ่ น่าจะใช้งานในแนวนอนมากกว่า ตามตำแหน่งของกล้องหน้าที่ควรอยู่ด้านบน
ขอบเครื่องมีพื้นที่ให้จับ วางนิ้วได้ทั้งการถือในแนวตั้งและแนวนอน ขนาดตัวเครื่อง ถือว่าค่อนข้างใหญ่
ในการแยกตัว Tablet กับ Keyboard ออกจากกัน ให้สไลด์ออกข้างแบบนี้ เพื่อให้แม่เหล็กไม่ดูดกัน หรือใช้วิธีบิดเหมือนบิด Oreo แยกชิ้น จุ่มนมอย่างในโฆษณาก็ได้
ในการประกบใช้งาน ให้วางประกบแบบนี้ ไม่ต้องตรงเป๊ะ แม่เหล็กจะดูดให้ตรงกันพอดีเสมอ
ประกบกันได้พอดีเป๊ะ แม่เหล็กพลังสูง ดูดผนึกกันได้แน่นหนึบดีมาก
ในการปรับมุมจอ ก็เพียงแค่ยกทำมุมตามที่ต้องการหลังจากที่แปะติดกันสนิทแล้ว
ระบบบานพับแข็งแรงดีมาก แน่นหนา มั่นคง ไม่มีหลวมหรือโยก
กลายเป็น Mini Notebook แล้ว
ติดตั้ง Microsoft Word, Excel, PowerPoint สำหรับใช้งานธุรกิจเพิ่มเติมลงไปได้เลย สำหรับงาน Graphic ก็สามารถติดตั้งแอปพลิเคชั่นของ Adobe ลงไปได้เช่นกัน ส่วนใหญ่ก็ฟรีทุกแอปฯ
รายการแอปพลิเคชั่น เกือบครึ่ง ติดตั้งเพิ่มลงไปเอง เนื่องจากเป็น Pure Android จึงมีเพียงแอปพลิเคชั่นที่จำเป็นเท่านั้นที่ติดมาจากโรงงาน ไม่มีแอปฯขยะ อยากใช้อะไร ผู้ใช้ก็ติดตั้งเพิ่มลงไปเอง
ใช้งานได้เหมือน Tablet ทั่วไป แต่สะดวกตรงที่มีคีย์บอร์ด พิมพ์สนุกบนปุ่มขนาดใหญ่
หน้าจอคมกริบ ตัวอักษรคมชัด อ่านได้ง่าย แสดงผลสวยงามดีมาก
แสดงผลเว็บไซต์ได้ดี ไม่พบอาการผิดเพี้ยนบนเว็บไซต์ที่รองรับ Responsive Design
Facebook แสดงภาพขนาดใหญ่พิเศษ ตัวอักษรขนาดเท่าเดิมใกล้เคียงกับบน Smartphone
Settings ของ Android 7.0 ไม่ค่อยแตกต่างจาก Android 6.0 เท่าไรนัก
Gmail ใหญ่สะใจเต็มจอ แสดงเนื้อหาในอีเมลได้ครบถ้วน ตอบกลับหรือเขียนเมลได้สะดวกดี
PowerPoint ทำงานนอกสถานที่ได้สบาย นำเสนอแบบไร้สาย ต่อภาพแบบ Wireless Display ออก Smart TV ได้เลย
Excel โชว์ Worksheet ได้กว้างมาก
Word ใช้งานเอกสารได้ เท่าที่มีฟอนต์ในระบบ
คีย์บอร์ด ต้องบอกตามตรงว่าพิมพ์สนุกดี เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่พิมพ์ภาษาอังกฤษอย่างเดียวเท่านั้น
คีย์บอร์ดมีการลดขนาดปุ่มที่ขอบด้านข้างลง แต่ก็ยังพอใช้งานได้
ขณะชาร์จไฟ ก็ไม่รู้สึกเกะกะสาย
ในการแกะ Tablet ออกจากคีย์บอร์ด ต้องกางออกให้สุด แล้วพลิกกลับหลังแบบนี้
วิดีโอแนะนำการผนึกและแยกส่วน Tablet กับ Keyboard ของ Pixel C
ซอฟต์แวร์
Pixel C มาพร้อมระบบปฏิบัติการ Android N หรือ 7.0 นั่นเอง ถือว่าใหม่ที่สุดในขณะนี้ ใครอยากสัมผัสประสบการณ์เวอร์ชั่นใหม่นี้ ก็ลองหาซื้อ Pixel C หรือสมาร์ทโฟนตระกูล Nexus กันได้เลย จะได้ใช้ก่อนใครแน่นอน
Locked screen
Home screen ปกติจะเป็น Google Now Launcher แต่ในการรีวิวครั้งนี้ ได้ติดตั้ง Launcher อื่นมาแทนที่ เพื่อให้ใช้งานได้สะดวกมากกว่าและเร็วลื่นกว่า
Quick settings เขี่ยลงมาจากขอบจอจุดใดก็ได้
เปลี่ยนปุ่มลัดได้
รายการแอปพลิเคชั่น
เมนู Settings
Android 7.0 ที่จะมีอัพเดตอีกในอนาคต มั่นใจไม่มีลอยแพ เพราะสเปคสูงมาก
แบตเตอรี่ใช้งานได้ 1-2 สัปดาห์ จากในภาพ เหลือ 86% แต่ระบุว่าใช้งานได้อีก 11 วัน
เมนูกล้อง
ตั้งค่าใช้งานกล้องได้เล็กน้อย
กล้อง แค่พอถ่ายภาพได้ ไม่มีลูกเล่นอะไรเลย และคุณภาพของกล้อง ก็ถือว่าไม่สมราคา มองข้ามส่วนนี้ไปได้เลย
ทดสอบประสิทธิภาพ
Pixel C จำหน่ายมาแล้วเป็นเวลา 9 เดือน แต่ทดสอบประสิทธิภาพ ทำคะแนนได้สูงถึง 126113 อยู่ในอันดับที่ 7 ของ Smart Device ที่แรงที่สุดในโลก รองจาก Galaxy S7 edge, iPhone 6s, iPhone SE ถึงแม้วางจำหน่ายมานานแล้ว แต่แรงไม่แพ้รุ่นใหม่เลยทีเดียว พลังประมวลผล ถือว่าแรงมาก น่าจะเหมาะกับการเล่นเกม 3D แรง ๆ แต่จากการทดสอบ ต้องบอกกันตามตรงว่าไม่แนะนำ เพราะตัวเครื่องร้อนเร็วมาก ความร้อนสูงในระดับที่ไม่สามารถถือได้ จึงแนะนำให้ใช้งานธุรกิจทั่วไปหรือใช้เพื่อความบันเทิง ชมภาพยนตร์ออนไลน์ จะเหมาะสมกว่า และประหยัดแบตเตอรี่ด้วย
จากการทดสอบ ถือว่า Pixel C น่าพอใจมากในด้านระยะเวลาใช้งานของแบตเตอรี่ แม้ว่าดูสเปคแล้ว หลายคนต้องคิดว่าจอภาพความละเอียดสูงขนาดนี้ ต้องกินไฟเยอะแน่นอน
ราคาและวิธีการสั่งซื้อ
Pixel C มีจำหน่ายที่ http://www.thainexusman.com/product/592/pixel-c ในราคา 19,900 และ 20,900 บาทสำหรับรุ่น 32GB และ 64GB ตามลำดับ ไม่รวมคีย์บอร์ด (สั่งซื้อ มัดจำ แล้วรอสินค้า 2-3 สัปดาห์) หรือดูรายละเอียดทั้งหมดแล้วสั่งซื้อโดยตรงได้ที่ https://pixel.google.com/ เฉพาะบางประเทศเท่านั้น ไม่รองรับการจำหน่ายตรงในประเทศไทย
สรุป
Android Tablet ประสิทธิภาพแรงสุดขั้ว ทรงพลังทุกการประมวลผล และแบตเตอรี่สุดอึด พร้อมคีย์บอร์ดที่ล้ำสมัย แข็งแรงทนทาน หรูหรา ต้องยกให้ Pixel C จริง ๆ คู่แข่งที่สูสีก็มี Android Tablet จาก Huawei และ Sony แต่ทั้งหมดนี้ ก็ไม่นำเข้ามาจำหน่ายในไทยเช่นกัน
ว่ากันตามตรงแล้ว Android Tablet มันแทบจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย เมื่อเปรียบเทียบกับ Surface ที่มีประโยชน์มากกว่า ใช้งานจริงได้หลากหลาย มีพอร์ตเชื่อมต่อมากกว่า หรือหากเปรียบเทียบกับ iPad ก็เสียเปรียบเรื่องแอปพลิเคชั่นที่ฝั่ง Android ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับหน้าจอ Tablet ความละเอียดสูง ต่างจากฝั่ง iOS ที่แยกแอปพลิเคชั่นเฉพาะ iPad ต่างหาก ทำให้แสดงผลได้ถูกต้อง เหมาะสมกับขนาดหน้าจอ
สิ่งที่ประทับใจ
- คีย์บอร์ดแข็งแรง ทนทาน ออกแบบได้ชาญฉลาด พิมพ์สนุก
- เมื่อประกบคีย์บอร์ดเข้ากับแท็บเล็ต เป็นการชาร์จไฟให้คีย์บอร์ดในตัวแบบ Wireless Charging
- ลำโพงสเตอริโอ มิติเสียงดี เหมาะกับการดูวิดีโอ ชมภาพยนตร์
- เร็วลื่นอย่างมาก มีเสถียรภาพดีเยี่ยม
- หน้าจอคมกริบ ความละเอียดสูงมาก
- ได้ระบบปฏิบัติการ Android 7.0 และมีอัพเดตก่อนใครเสมอ
- ไฟแสดงสถานะและระดับแบตเตอรี่สุดเก๋
- วัสดุระดับพรีเมี่ยม ดีไซน์สวยหรู เป็นไอเดียการออกแบบที่น่าชื่นชมมาก
- สเปคสูงมาก ประสิทธิภาพดีเยี่ยมในระดับแถวหน้าของ Smart Device ยุคนี้
- แบตเตอรี่ใช้งานได้นานมากแม้ไม่ได้เปิดโหมดประหยัดพลังงาน
ข้อสังเกต
- ไม่มีจำหน่ายในไทย ต้องสั่งหิ้วมาจากต่างประเทศ ไม่มีการรับประกันจากผู้หิ้ว
- คีย์บอร์ด ไม่มีภาษาไทย ไม่เหมาะกับการพิมพ์สัมผัสภาษาไทย ไม่มีไฟ Backlit
- เหมือนเอาสมาร์ทโฟนมาขยายจอใหญ่ โดยไม่ได้มีประโยชน์เพิ่มขึ้นสักเท่าไร
- ระบบปฏิบัติการ Windows 10 มีประโยชน์มากกว่า ทำอะไรได้มากกว่าหลายเท่า
- ไม่มีแถมสาย USB-C to USB-A ในกล่อง
- มีพอร์ต USB-C เพียงพอร์ตเดียว
- ใส่ SIM card และ microSD card ไม่ได้ จึงโทรไม่ได้
- ราคาสูงกว่า iPad และ Surface บางรุ่น
- ทำงานเอกสาร Microsoft Office มีข้อจำกัดเรื่อง Font บน Tablet
- แอปพลิเคชั่นส่วนใหญ่ ไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้งานบนหน้าจอ Pixel C โดยสมบูรณ์
- เปิดแอปพลิเคชั่นแบบแบ่งครึ่งหน้าจอหรือเป็นหน้าต่างซ้อนไม่ได้
คู่แข่ง
ตัวเลือกอื่นที่น่าสนใจกว่า Pixel C มีมากมายในราคาที่คุ้มค่ากว่า ได้แก่
- Microsoft Surface 3
- Microsoft Surface Pro 3
- Microsoft Surface Pro 4
- Apple iPad Pro 9.7
- Apple iPad mini 4
- Apple iPad 4
Leave a Reply