คลายข้อสงสัย RAM และ ROM คืออะไร? แตกต่างกันอย่างไร สำคัญแค่ไหน และทำหน้าที่อะไร มาหาคำตอบกันเลย
สวัสดีเพื่อน ๆ ผู้ติดตาม ninethaiphone ทุกท่านค่ะ ? วันนี้เรามีบทความ How To คลายข้อสงสัย RAM และ ROM แตกต่างกันอย่างไร? มาฝากให้ได้ชมกัน ซึ่งเชื่อว่าผู้ใช้งานสมาร์ตโฟนบางคนอาจจะเคยสงสัยกันว่า RAM และ ROM ที่เราได้ยินได้เห็นกันบ่อย ๆ นั้นคืออะไร มีหน้าที่ทำอะไรได้บ้าง และแตกต่างกันอย่างไร พูดแล้วอย่ารอช้า เราไปชมรายละเอียดทั้งหมดกันเลยค่ะ
- RAM (แรม) ย่อมาจาก Random Access Memory คือ หน่วยความจำชั่วคราวของสมาร์ตโฟน เป็นส่วนสำคัญต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม และความเร็วในการทำงาน ทำหน้าที่รับ-ส่ง และเป็นที่พักข้อมูล ระหว่างการใช้งานของเราและชิปประมวลผล เป็นพื้นที่เก็บข้อมูลที่กำลังถูกใช้งานอยู่ ยิ่งมีหน่วยความจำ RAM มากจะยิ่งทำงานได้เร็วขึ้น ยิ่งสามารถเปิดใช้งานหลายแอปฯ พร้อมกันได้มากขึ้น หากมี RAM น้อย ๆ จะทำให้สมาร์ตโฟนค้าง กระตุก ต้องดาวน์โหลดใหม่บ่อย ๆ
- ROM (รอม) หรือ Read-only Memory คือ หน่วยความจำถาวรของสมาร์ตโฟนที่ติดมากับตัวเครื่อง เรียกง่าย ๆ ว่า ความจุภายในตัวเครื่องนั่นเอง จะเพิ่มเองไม่ได้ทีหลัง มีความจุตั้งแต่ 16GB, 32GB, 64GB, 128GB, 256GB และ 512GB ขึ้นอยู่กับว่าสมาร์ตโฟนที่เลือกนั้นอยู่ในระดับใด สำหรับ ROM ใช้เก็บข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, วิดีโอ, แอปพลิเคชั่น, ระบบปฏิบัติการ ฯลฯ แต่ถ้าอยากได้ความจุที่สูงกว่านี้ก็ต้องอาศัยเพิ่มด้วยการ์ดเสริมภายนอก หรือ microSD Card เอาค่ะ
อย่างไรก็ดี ปัจจุบันหากต้องการซื้อสมาร์ทโฟนไว้ใช้งานสักเครื่อง ควรดูรุ่นที่ให้ RAM และ ROM มาสมเหตุสมผลหน่อย เพื่อเก็บแอปฯ และการประมวลผลที่รวดเร็ว ใช้งานได้แบบไหลลื่น ไม่ทำให้เครื่องกระตุก ก็ควรมี RAM อย่างน้อย 4GB – 6GB และความจุอย่างน้อย 64GB – 128GB เป็นต้น
เอาไว้โอกาสหน้าเราจะมีบทความหรือทริคอะไรดี ๆ มาฝากกันอีก ฝากเพื่อน ๆ ติดตามชมกันด้วยนะคะ และหากใครมีคำถามข้อสงสัยใด ๆ หรืออยากให้แนะนำเรื่องไหนเพิ่มเติมก็ร่วมแสดงความคิดเห็นกันได้เลยค่ะ ?
Leave a Reply