4 คุณสมบัติเด่นของ HarmonyOS ระบบปฏิบัติการใหม่ล่าสุดจาก Huawei

4 คุณสมบัติเด่นของ HarmonyOS ระบบปฏิบัติการใหม่ล่าสุดจาก Huawei

HarmonyOS

เมื่อไม่นานมานี้ Huawei ได้เปิดตัวระบบปฏิบัติการใหม่ล่าสุด HarmonyOS ในงาน Huawei Developer Conference โดยเป็นระบบปฏิบัติการใหม่แบบกระจาย (Distributed Operating System) ซึ่งใช้  Microkernel ในจัดการทรัพยากรระบบ

HarmonyOS (1)

ซึ่งทาง ริชาร์ด หยู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป กล่าวถึงแนวคิดเบื้องหลังการพัฒนาระบบปฏิบัติการนี้ว่า Huawei ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบปฏิบัติการที่จะสามารถรองรับการทำงานบนอุปกรณ์ที่หลากหลายได้ จึงต้องการที่จะพัฒนาระบบปฏิบัติการให้สามารถใช้งานได้ในทุกสถานการณ์ รองรับการทำงานกับแพลตฟอร์ม และอุปกรณ์หลากประเภท และต้องตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงต้องมีควำมปลอดภัยกับผู้บริโภค

เป้าหมายของการพัฒนา HarmonyOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่มีความแตกต่างกับระบบปฏิบัติการ Android และ iOS เนื่องจาก HarmonyOS มีพื้นฐานการจัดการระบบแบบ Microkernel และเป็นระบบแบบกระจาย (Distributed Operating System) ทำให้ระบบปฏิบัติการ HarmonyOS สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ยอดเยี่ยมได้ในทุกจังหวะของชีวิต

นอกจากนี้ยังเป็นระบบปฏิบัติการที่มีความแข็งแกร่ง มีความปลอดภัยสูง และสามารถใช้งานข้ามอุปกรณ์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ นักพัฒนาซอฟต์แวร์จึงไม่จำเป็นต้องออกแบบแอพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน เพราะออกแบบเพียงครั้งเดียวก็สามารถเข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ HarmonyOS ได้ทุกประเภท

HarmonyOS เป็นระบบปฏิบัติการที่เรียบง่ายแต่เปี่ยมประสิทธิภาพ โดย Huawei จะเริ่มต้นใช้ระบบปฏิบัติการนี้กับอุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ เช่น สมาร์ทวอช (Smart Watch) สมาร์ททีวี (Smart Screen) ระบบอินโฟเทนเมนท์ในรถยนต์ (In-Vehicle Systems) และลำโพงอัจฉริยะ ทางค่ายคาดหวังว่าการพัฒนาระบบปฏิบัติการนี้จะช่วยให้ผู้บริโภคที่ใช้งานผลิตภัณฑ์ Huawei ได้รับประสบการณ์การใช้งานอุปกรณ์ได้อย่างต่อเนื่อง มีความปลอดภัย และรองรับการใช้งานกับทุกๆ อุปกรณ์ เราไปชมคุณสมบัติเด่น 4 ประการสำคัญของ HarmonyOS กันเลยค่ะ

HarmonyOS (3)

ทำงานได้อย่างต่อเนื่องในทุกอุปกรณ์

HarmonyOS เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ทดีไวซ์ระบบแรกที่เป็นระบบแบบกระจาย (Distributed Operating System) จึงสามารถทำงานได้กับทุกอุปกรณ์ สามารถรองรับคุณสมบัติอันชาญฉลาด ทั้ง Shared Communications Platform, Distributed Data Management,Distributed Task Scheduling และ Virtual Peripherals

นอกจากนี้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณสมบัติต่างๆ ของแอพพลิเคชั่นได้อย่างเต็มที่ โดยไม่จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดเชิงลึกของการพัฒนาแอพพลิเคชั่นให้เหมาะสมกับอุปกรณ์รุ่นต่างๆ

อีกทั้งยังช่วยให้การจัดจำหน่ายหรือการนำเสนอแอพพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์ประเภทต่างๆ เป็นไปโดยง่าย เพราะระบบปฏิบัติการนี้มีสถาปัตยกรรมของระบบปฏิบัติการเป็นแบบ Distributed OS และรองรับเทคโนโลยี Distributed Virtual Bus โดยแอพพลิเคชั่นสำหรับระบบปฏิบัติการนี้จะสามารถใช้งานกับอุปกรณ์ที่ตกต่างกันได้อย่างต่อเนื่อง

ทำงานได้อย่างลื่นไหลบนเทคโนโลยี Deterministic Latency Engine และ high-performance IPC

HarmonyOS ใช้เทคโนโลยี Deterministic Latency Engine และ High-Performance Inter Process Communication (IPC) เพื่อการทำงานที่ลื่นไหล โดยเทคโนโลยี Deterministic Latency Engine จะช่วยจัดลำดับคำสั่งที่ต้องทำงานก่อนและตั้งกรอบเวลาสำหรับการทำงานของคำสั่งต่างๆ ไว้ล่วงหน้าได้ ช่วยให้ทรัพยากรของระบบสามารถจัดการกับการทำงานที่สำคัญกว่าได้ก่อน ลดอาการหน่วงของแอพพลิเคชั่นลงได้ถึง 25.7% นอกจากนี้ Microkernel ที่หัวเว่ยใช้ยังสอดคล้องกับเทคโนโลยี IPC ส่งผลให้ประสิทธิภาพของ IPC สูงกว่ำระบบปฏิบัติการอื่นๆถึง 5 เท่า

HarmonyOS (2)

สร้างนิยามใหม่ของความปลอดภัยตั้งแต่แกนระบบจากการใช้ Microkernel ความปลอดภัยสูง

HarmonyOS ใช้สถาปัตยกรรม Microkernel แบบใหม่ล่าสุด ที่มีความปลอดภัยสูงและทำงานได้ลื่นไหลกว่าเดิม และช่วยให้การพัฒนาเคอร์เนลระบบเป็นไปโดยง่ายขึ้น เนื่องจาก Microkernel จะทำหน้าที่ในการพัฒนาเคอร์เนลระบบให้สามารถรองรับการทำงานที่สำคัญได้ เช่น การกำหนดลำดับการทำงานของคำสั่งต่างๆ บนเธรด (Thread) และระบบ IPC

Microkernel ของระบบปฏิบัติการ HarmonyOS มีระบบการยืนยันแบบ Formal Verification ที่ทำงานบน Trusted Execution Environment (TEE) อันเป็นแนวคิดใหม่ของระบบความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของระบบ

โดยระบบการยืนยันแบบ Formal Verification นั้นทำงานโดยอาศัยการสร้างโมเดลข้อมูลเพื่อตรวจสอบทุกส่วนของซอฟต์แวร์ และใช้กลไกทางคณิตศาสตร์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของระบบตั้งแต่แหล่งที่มา ซึ่งแตกต่างจากระบบการยืนยันแบบเดิม เช่น แบบ Functional Verification หรือ แบบ Attack Simulation ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบความปลอดภัยได้อย่างเต็มรูปแบบ

HarmonyOS เป็นระบบปฏิบัติแรกที่มีระบบการยืนยันแบบ Formal Verification ที่ทำงานบน TEE ซึ่งยกระดับความปลอดภัยให้สูงขึ้นเป็นอย่างมาก เพราะระบบปฏิบัติการนี้มีจำนวนบรรทัดของโค้ดที่ใช้ในการพัฒนาน้อยกว่าระบบปฏิบัติการอื่นๆ เนื่องจากการใช้ระบบ Microkernel มีจำนวนบรรทัดโค้ดที่น้อยกว่าระบบปฏิบัติการที่พัฒนาจาก Linuxkernel ถึง 1 ต่อ 1,000 ทำให้ HarmonyOS มีช่องโหว่ของระบบน้อยกว่าระบบปฏิบัติการอื่นอย่างมาก

พัฒนาแอพลิเคชั่นเพียงครั้งเดียวก็ใช้งานได้ทุกอุปกรณ์ด้วย Multi-Device IDE

HarmonyOS รองรับระบบ Multi-Device IDE ซึ่งเป็นระบบที่รองรับภาษาคอมพิวเตอร์หลากหลายภาษาและมีสถาปัตยกรรมที่รองรับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นแบบเฉพาะ ตัวระบบปฏิบัติการจึงสำมารถปรับขนาดให้เหมาะสมกับหน้าจอ ตัวป้อนคำสั่ง หรือเครื่องมือสำหรับการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ที่แตกต่างกันได้โดยอัตโนมัติ

อีกทั้งยังรองรับทั้งการลากและวาง รวมไปถึงการพรีวิวซอฟต์แวร์แบบเสมือนจริงในขั้นตอนกำรพัฒนาอีกด้วย นักพัฒนาซอฟต์แวร์จึงสามารถลดเวลาที่ต้องใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้รองรับทุกอุปกรณ์ได้ เพราะระบบ Multi-device IDE ช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถเขียนชุดคำสั่งเพียงครั้งเดียวก็นำซอฟต์แวร์ของตนไปใช้งานได้กับทุกอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ HarmonyOS อีกทั้งยังช่วยยกระดับการทำงานกับอุปกรณ์ที่หลากหลายอย่างไร้รอยต่อไปอีกขั้น

Huawei ARK Compiler เป็นคอมไพเลอร์แบบ Static ตัวแรกที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ Virtual Machine ของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ซึ่งจะช่วยให้นักพัฒนาสามารถรวบรวมโค้ดที่ซับซ้อนมาเพื่อให้ระบบแปลงเป็นโค้ดที่เรียบง่ายสำหรับการทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว Huawei ARK Compiler จึงเอื้อประโยชน์ให้กับนักพัฒนาเป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ดี HarmonyOS เวอร์ชั่น 1.0 จะติดตั้งในผลิตภัณฑ์สมาร์ททีวี (Smart Screen) ของ Huawei ที่จะวางจำหน่ายภายในปีนี้ และภายใน 3 ปีข้างหน้า โดยคาดว่าจะพัฒนาระบบปฏิบัติการนี้ให้สามารถทำงานกับสมาร์ทดีไวซ์ได้หลากประเภท เช่น Wearable, Huawei Vision และระบบปฏิบัติการภายในรถยนต์

HarmonyOS จะนำประโยชน์ที่หลากหลายมาสู่ผู้ใช้งาน ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ และนักพัฒนา โดยผู้บริโภคจะได้สัมผัสประสบการณ์การใช้งานที่เปี่ยมพลังและไร้รอยต่อตลอดทุกจังหวะของชีวิต ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์จะสามารถพัฒนาฮาร์ดแวร์ที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น 5G, ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ IoT ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น และสำหรับนักพัฒนาจะสามารถเข้าถึงผู้ใช้จำนวนมากโดยใช้ต้นทุนน้อยลง และยังทำงานได้รวดเร็วขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ www.huawei.com