แนะนำวิธีใช้ Away Covid-19 เช็กพื้นที่เสี่ยงโควิด เคสผู้ป่วย, ผู้ติดเชื้อ หรือเสียชีวิต ใกล้ตัวแบบง่าย ๆ เพียงแค่แอด LINE

แนะนำวิธีใช้ Away Covid-19 เช็กพื้นที่เสี่ยงโควิด เคสผู้ป่วย, ผู้ติดเชื้อ หรือเสียชีวิต ใกล้ตัวแบบง่าย ๆ เพียงแค่แอด LINE

1

สวัสดีเพื่อน ๆ ผู้ติดตาม ninethaiphone ทุกท่านค่ะ วันนี้เรามีบทความ How To แนะนำวิธีใช้ Away Covid-19 สำหรับเช็กพื้นที่เสี่ยงโควิด เคสผู้ป่วย, ผู้ติดเชื้อ หรือเสียชีวิต ใกล้ตัวแบบง่าย ๆ เพียงแค่แอด LINE มาฝากให้ได้ชมกัน

coronavirus3-scaled

ซึ่งต้องบอกเลยว่าสถานการณ์ Covid-19 (โคโรน่าไวรัส/โควิด-19) ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกกำลังแพร่ระบาดหนักอีกครั้ง โดยเฉพาะที่ต้องจับตาเลยก็คือการระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทยบ้านเรา มีทั้งเคสผู้ป่วยรายใหม่, เคสผู้ป่วยสะสม, เคสผู้ป่วยที่หายป่วยแล้ว และเคสผู้ป่วยที่เสียชีวิต

ซึ่งทาง ศบค. ได้มีมาตรการเข้มข้นออกการควบคุมจังหวัดพื้นที่ควบคุมสุงสุดออกมาแล้ว โดยมีการปิดสถานที่เสี่ยงต่าง ๆ, ห้ามนั่งทานอาหารในร้านหลัง 21.00 – 06.00 น., มีการตรวจคัดกรองการเดินทางข้ามจังหวัด ให้มีการบันทึกข้อมูล และดำเนินการตามมาตรการ สธ., งดเดินทางเข้าพื้นที่ เว้นจำเป็นหรือขนส่งสินค้า และการจัดตั้ง รพ.สนาม เป็นต้น

สำหรับวันนี้แอดมินได้มีตัวช่วยดี ๆ สำหรับตรวจเช็กพื้นที่เสี่ยงโควิดใกล้ตำแหน่งที่ตั้งของเรา เช็กสถิติผู้ติดเชื้อในประเทศไทย และค้นหาสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดมาฝากให้ได้ชมกัน โดยสามารถเช็กได้ตลอดผ่านแอปฯ LINE เสมือนเราเปิดห้องแชทคุยกับเพื่อนเลยค่ะ ส่วนจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้น เราไปติดตามกันเลย

Away Covid-19 (1)

  • ก่อนอื่นเลยให้เพื่อน ๆ Add เพิ่มเพื่อน @AWAYCOVID19 บนแอปพลิเคชัน LINE จากนั้นจะปรากฏห้องแชทดังภาพแรกขึ้นมา ข้อสำคัญ! อย่าลืมเปิดใช้งาน GPS บนตัวเครื่อง และกดอนุญาตให้สิทธิ์การใช้หรือการเข้าถึงข้อมูลโทรศัพท์ขณะเปิดใช้งานกันด้วยนะคะ
  • เริ่มกันที่หัวข้อ “เตือนก่อนเข้าใกล้พื้นที่มีเคส” เมื่อกดปุ่มนี้จะรู้ได้ทันทีเลยว่า ณ ตำแหน่งที่เราอยู่ตอนนี้ มีจำนวนเคสผู้ป่วย หรือผู้ติดเชื้อเท่าไหร่
  • ส่วนพวกไอคอนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่แสดงบนหน้าจอจะมีทั้ง กำลังรักษา, ไทม์ไลน์ที่ผู้ป่วยเคยมา, เสียชีวิต, พื้นที่เฝ้าระวัง, จุดคัดกรอง และพื้นที่ประกาศ พรก.ฉุกเฉิน เป็นต้น

Away Covid-19 (2)

  • สามารถค้นหาสถานที่ที่มีผู้ป่วยติดเชื้ออาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ได้เอง และตรวจสอบเส้นทาง พร้อมสามารถใช้ “บันทึกเส้นทาง” ลงบนแผนที่เผื่อจำเป็นต้องออกจากบ้านได้อีกด้วย โดยระบบจะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อ หรือผู้เสียชีวิต แบบเป็นเคส ๆ พร้อมระบุจังหวัดขึ้นมาด้วย

Away Covid-19 (3)

  • ระบบสามารถแสดงตำแหน่งของเราได้อย่างแม่นยำ พร้อมแสดงสัญลักษณ์ใกล้เคียงให้เห็นแบบทันที มีการรวบรวมหมายเลขฉุกเฉินไว้ให้เผื่อเกิดเคสกรณีพิเศษขึ้นมาแบบไม่คาดคิด มีทั้งเบอร์ของกรมควบคุมโรค, สายด่วนประกันสังคม หรือปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต เป็นต้น

Away Covid-19 (4)

  • มีการเตือนเข้าพื้นที่เตือนระวัง ที่จะแสดงสถานที่ จำนวนเคส และสถานะของผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อ หรือผู้เสียเสียชีวิตขึ้นมา พร้อมระบุระยะห่างจากตำแหน่งที่ตั้งของเรา
  • นอกจากนี้ยังสามารถตั้งค่าแผนที่ได้เอง มีทั้งการกำหนดรัศมีความห่างหรือใกล้ของเคสต่าง ๆ, ช่วงเวลาแสดงข้อมูล, การแสดงชั้นข้อมูล, การปรับค่าความชัดของพื้นที่สีความเสี่ยง และการเลือกใช้งานแผนที่ เป็นต้น

Away Covid-19 (5)

  • ถัดมาเป็นหัวข้อ “สถิติผู้ติดเชื้อในประเทศไทย” โดยระบบจะแสดงสถิติผู้ป่วยโควิด-19 แบบเป็นข้อมูลอัปเดตรายวันตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขขึ้นมาเลยค่ะ

Away Covid-19 (6)

  • และสุดท้ายเป็นหัวข้อ “ค้นหาสถานพยาบาล” ที่เราสามารถค้นหาสถานรับตรวจเชื้อโควิด โรงพยาบาล, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, คลีนิก และร้านยา ที่ใกล้ที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถนำทางไปยังเป้าหมายได้ด้วย

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับแนะนำวิธีใช้ Away Covid-19 สำหรับเช็กพื้นที่เสี่ยงโควิด เคสผู้ป่วย, ผู้ติดเชื้อ หรือเสียชีวิต ใกล้ตัวแบบง่าย ๆ เพียงแค่แอด LINE ที่เราได้นำมาฝากกันในวันนี้ ต้องบอกเลยว่ามีติดไว้บน LINE ก็ไม่เสียหายอะไรนะคะ เราจะได้ทราบพื้นที่เสี่ยง เคสผู้ป่วย, ผู้ติดเชื้อ หรือเสียชีวิตใกล้ ๆ ตัวได้แบบรวดเร็วเลย

ซึ่งหากใครที่เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง ก็ต้องคอยสังเกตตัวเองด้วยว่ามีอาการเข้ากลุ่มเสี่ยงหรือไม่ หากเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงให้รีบไปตรวจ และติดต่อเจ้าหน้าที่ทันที พร้อมกับกักตัวเพื่อไม่ให้เชื้อกระจายไปสู่บุคคลรอบข้าง และไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายนะคะ

เพราะหากเคยเดินทางไปพื้นที่เสี่ยง เคยสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ หรือสงสัยว่าจะติดเชื้อแม้ไม่มีอาการก็อย่านิ่งนอนใจ ให้รีบมาตรวจตั้งแต่เนิ่น ๆ เพียงแค่แจ้งทาง รพ. ว่าเดินมาทางจากพื้นที่เสี่ยง ก็จะไม่เสียค่าใช้จ่าย เสียเฉพาะค่าปรึกษาหมอเท่านั้นค่ะ (ข้อมูลจากประสบการณ์ของคนใกล้ตัวนะคะ)

เอาไว้โอกาสหน้าเราจะมีบทความหรือทริคอะไรดี ๆ มาฝากกันอีก ฝากเพื่อน ๆ ติดตามชมกันด้วย และหากใครมีคำถามข้อสงสัยใดอยากให้แนะนำเพิ่มเติมก็ร่วมแสดงความคิดเห็นกันได้เลยค่ะ 🙂