10 เคล็ดลับ ในการเลือกเครื่องมืออุปกรณ์พกพาให้ได้มีประสิทธิภาพดีจริง อุปกรณ์ที่ถูกหลักในการใช้งาน นำพามาซึ่งความสำเร็จก้าวแรกของธุรกิจ
โดย เอพริล เชน, ผู้อำนวยการ , Enterprise Visibility and Mobility, ซีบรา เทคโนโลยีส์ เอเชีย แปซิฟิค
ธุรกิจอุปกรณ์พกพาสำหรับการใช้งานทางธุรกิจ ถือว่ามีแนวโน้มในการเจริญเติบโต และได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอุตสาหกรรมต่างๆในประเทศไทยเองก็หันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับอุปกรณ์พกพานี้มากขึ้น และ ซีบรา เทคโนโลยีส์ เองในฐานะผู้ค้าอุปกรณ์สื่อสารพกพาในทุกอุตสาหกรรม
อาทิ โรงพยาบาล บันเทิง โลจิสติกส์ หรือโรงงาน ซึ่งทุกภาคส่วนต่างหันมาให้ความสนใจในเรื่องของคุณภาพ และการใช้งานที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดได้ดีจริง ฉะนั้นเนื่องในโอกาสนี้ทางซีบรา เทคโนโลยีส์ จึงขอแชร์เคล็ดลับการเลือกอุปกรณ์พกพาที่เหมาะกับอุตสาหกรรม หรือ ประเภทงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
1. การเลือกประเภทสินค้า เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการ
สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงคือ อุปกรณ์ที่สามารถมีความทนทานต่อสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมนั้นๆ เช่น ถ้าสำหรับการใช้งานภายในโรงงาน อุปกรณ์ควรมีความทนทานต่ออุณหภูมิที่สูง วัสดุสามารถทนทานต่อการปรับเปลี่ยนของอุณหภูมิได้ ซึ่งสินค้าในบางโรงงานจำเป็นต้องมีการใช้บาร์โค้ด เพื่อการเก็บข้อมูล ฉะนั้นจึงสำคัญยิ่งที่อุปกรณ์จะต้องทำความสะอาดง่าย ป้องกันฝุ่นได้ และมีขนาดกะทัดรัด หรือเหมาะสมเมื่อผู้บริโภคจำเป็นต้องสวมใส่ถุงมือ หรือ หากอุปกรณ์ใช้ภายในสถานพยาบาล อุปกรณ์ต้องมีความทนทานต่อแอลกอฮอล์ในการทำความสะอาดเพื่อฆ่าเชื้อ
2. ตรวจจับข้อมูลได้ทุกข้อกำหนด
ปัจจุบันบาร์โค้ดสามารถพบเจอได้ทุกที่ โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้องค์กรต่างๆสามารถติดตามและตรวจสอบสถานะของทรัพย์สินได้ ซึ่งองค์กรควรตรวจสอบเครื่องสแกนเนอร์เพื่อให้ตรงตามข้อกำหนด อีกทั้งคุณสัมบัติที่ควรพิจารณาคือสามารถอ่านรหัสบาร์โค้ด 2 มิติ
และบันทึกภาพลายเซ็น ที่สามารถถอดรหัสได้ถึงแม้ส่วนของบาร์โค้ดจะมีการเสียหาย และการชำระสินค้าผ่านระบบบัตรเครดิต ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวถือเป็นกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์ในระยะยาว เนื่องจากอุปกรณ์ที่ดีไม่ควรใช้เพียงแก้ไขปัญหาระยะสั้นเท่านั้นแต่ต้องเป็นตัวช่วยการทำงานในอนาคต
3. ระยะเวลาการใช้งานถือเป็นสิ่งสำคัญ
อายุการใช้งานแบตเตอรี่ของอุปกรณ์ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์อาจถูกใช้งานโดยหลากหลายแผนก หรือผู้ใช้งานไม่สามารถไปยังอุปกรณ์ชาร์จระหว่างการทำงานได้ทันทวงที
4. ความสะดวกในการใช้งาน
สำหรับองค์กรต่างๆ ควรเลือกอุปกรณ์ที่สะดวกต่อการใช้งานอีกทั้งมาพร้อมคุณลักษณะที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี อาทิ อุปกรณ์ที่ไม่มีความซับซ้อนในการใช้งาน เพราะสามารถช่วยประหยัดเวลาในการปฏิบัติงาน แต่เพิ่มผลผลิตในระยะเวลาอันสั้น อีกทั้งควรคำนึงถึงการต่อเชื่อมเข้ากับระบบการใช้งานบนสมาร์ทโฟนด้วย
5. การรักษาความปลอดภัย
การรักษาความปลอดภัยถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการใช้งานจองบัตรเครดิตและข้อมูลส่วนตัวต่างๆ อาทิ ข้อมูลด้านสุขภาพ ประวัติการใช้จ่าย เพราะข้อมูลส่วนตัวเหล่านี้อาจจะเป็นช่องโหว่ให้กับผู้เจตนาร้ายในการเจาะข้อมูลและนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย
6. การต่อเชื่อมกับระบบการจัดการต่างๆขององค์กร
อุปกรณ์ที่ดี และเพียบพร้อม ควรถูกผลิตมาเพื่อรองรับกับโซลูชั้น หรือระบบต่างๆขององค์กรได้ดี อีกทั้งต้องมีความเสถียรในการทำงาน การอัพเดทระบบ ตลอดจนวิธีการรองรับปัญหาต่างๆ ที่สามารถช่วยลดภาระทางด้านไอที เพราะหากปราศจากการใช้โปรแกรมจัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างมีประสิทธิภาพ
7. ระบบดูแลรักษา และซัพพอร์ต
การเก็บรักษาอุปกรณ์จำเป็นต้องได้รับการดูแล และซ่อมบำรุงอย่างรวดเร็วด้วยระบบซอฟต์แวร์ที่มีความทันสมัยต่อเทคโนโลยี หรือแผนการรองรับเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินของตัวระบบเอง
8. ระบบรองรับการใช้งาน
ข้อผิดพลาดในการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ล้มเหลวหรืออัพเกรดบ่อยๆ อาจส่งผลให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายทีเกินความจำเป็น อุปกรณ์เสริมต่างๆ และตัวชาร์จสำหรับโมเดลรุ่นใหม่อาจจะไม่สามารถรองรับการใช้งานรุ่นเก่าได้ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และเจ้าของอุปกรณ์จะต้องสูญเสียเงินไปกับเงินที่จ่ายก่อนหน้านั้น
9. ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการเป็นเจ้าของอุปกรณ์
แม้ว่าต้นทุนของอุปกรณ์นั้นจะต่ำ แต่หากหลังรวมค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่มาจากการลงทุนในอุปกรณ์และอุปกรณ์เสริมอื่นๆทำให้ค่าใช้จ่ายอาจเพิ่มขึ้น ผู้เชี่ยวชาญต่างยอมรับว่า สมาร์ทโฟนสำหรับผู้บริโภค สามารถเพิ่มค่าใช้จ่ายมากขึ้นอีกถึง 50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับอุปกรณ์ที่มีความทนทานสูง
10. อายุการใช้งานของอุปกรณ์
โดยเฉลี่ยตามปรกติ อุปกรณ์ของผู้บริโภคมักจะเริ่มล้าสมัยนับตั้งแต่เดือนที่ 18 จนไปถึง เดือนที่ 24 ซึ่งมีผลทำให้อุปกรณ์เสริมต่างๆเริ่มล้าสมัยด้วยเช่นเดียวกัน หากเปรียบเทียบกันแล้ว อุปกรณ์ต่างๆของผู้ประกอบการมักจะมีอายุการใช้งานของอุปกรณ์ยาวนานกว่าวงจรชีวิตของอุปกรณ์ ตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือยาวนานกว่านั้น นอกจากนี้ การสนับสนุนด้านความปลอดภัยระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคจะสิ้นสุดลงหลังจากผ่านไป 36 เดือน ซึ่งเป็นไปในระยะเวลาห้าปีในการให้บริการของธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม หากอุปกรณ์ทำงานบนระบบปฏิบัติการที่ไม่ได้เผยแพร่ระบบรักษาความปลอดภัย หรือมีการสนับสนุนด้านความปลอดภัยก็จะทำให้เกิดภัยคุกคามความปลอดภัยที่คาดไม่ถึงได้
โดยหากมองในแง่ดี อุปกรณ์ของผู้ประกอบการที่รองรับระบบปฏิบัติการการใช้งานบนแอนดรอย สามารถเลือกที่จะใช้บริการ OS ซึ่งช่วยในการยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ไลฟ์การ์ดของซีบร้าสำหรับแอนดรอย ซึ่งในระยะยาวจะช่วยลดการเกิดค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการเป็นเจ้าของอุปกรณ์ให้น้อยลงได้
โดยสรุปแล้ว เกรดอุปกรณ์ของผู้บริโภคนั้นจะแสดงให้เห็นถึงความคุ้มค่าในการจ่ายเงิน รวมทั้งตัวอุปกรณ์เดี่ยวๆนั้นอาจจะถูกกว่าอุปกรณ์ที่มาคู่กันกับองค์กร อย่างไรก็ตามองค์กรอาจจะไม่ได้คำนึงถึงความยุ่งยากและราคาที่ซ่อนไว้ ในการเลือกอุปกรณ์ที่ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับการใช้งานขององค์กร
การลงทุนในด้านเทคโนโลยีสำหรับอุปกรณ์สมาร์ทโฟนอาจจะไม่เพียงพอที่จะการันตีในด้านของผลิตผล ความมีประสิทธิภาพ และการบริการลูกค้า องค์กรต่างๆจึงจำเป็นที่จะต้องเลือกใช้อุปกรณ์ที่ถูกต้องสำหรับธุรกิจของตน จึงจะทำให้คุ้มค่ากับการลงทุนที่สูญเสียไปข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการติดตั้งอายุการใช้งานอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้น และ อุปกรณ์สมาร์ทโฟน สำหรับองค์กร สามารถเข้าเยี่ยมชมรายละเอียดได้ที่ เว็บไซต์
Leave a Reply