ผลวิจัย Visa เผยสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต จะเป็นตัวขับเคลื่อนตลาดอีคอมเมิร์ซในไทย

ผลสำรวจล่าสุดของ วีซ่า เกี่ยวกับการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปี 2558 เผยว่าครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคชาวไทยเลือกใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในการซื้อสินค้าออนไลน์

ผลสำรวจเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปี 2558[1] ของวีซ่า (Visa Consumer Payment Attitudes Study 2015) แสดงให้เห็นว่าตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องเพราะ ผู้บริโภคนิยมใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในการชำระเงินออนไลน์ โดยสองในสามของผู้บริโภคช้อปปิ้งออนไลน์อย่างน้อยเดือนละครั้ง และมากกว่าครึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม (53 เปอร์เซ็นต์) ได้ใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในการชำระเงินออนไลน์

ผลสำรวจฉบับนี้ได้ ศีกษาเทรนด์และพฤติกรรมการชำระเงินของผู้บริโภคจากหกประเทศในทวีปเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทย นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงหมวดหมู่สินค้าที่ผู้บริโภคสนใจในการซื้อสินค้า ผ่านสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต รวมถึงสินค้าจากหมวดหมู่ใหม่ที่มีแนวโน้มว่าผู้บริโภคจะเริ่มช้อปปิ้งมาก ขึ้น

นายสุริพงษ์ ตันติยานนท์

นาย สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ถึงแม้ว่าตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยยังอยู่ในระยะเริ่มต้นแต่ก็มีการ เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าแฟชั่นและเครื่องประดับ บัตรชมภาพยนตร์ และ                การชำระค่าสินค้า บริการ และสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการเติบโตของตลาดออนไลน์เพราะมีส่วนแบ่งการชำระเงิน ต่ำ แต่มียอดการใช้จ่ายที่ถี่ โดยสัดส่วนที่สูงขึ้นของการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตทำให้เราเห็น โอกาสเติบโตอันดี ในอนาคต”

ประเทศไทยมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากถึง 29 เปอร์เซ็นต์[2] แต่ยังมีการเข้าถึงอีคอมเมิร์ซในอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศที่มีอัตรา การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตใกล้เคียงกัน แม้ว่าสัดส่วนของผู้ถือบัตรที่ใช้จ่ายผ่านร้านค้าออนไลน์ยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ยอดการทำธุรกรรมการเงินผ่านมือถือและแท็บเล็ตที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นั้นได้ชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปและสมาร์ทโฟนกลายเป็น เครื่องมือสำหรับชำระเงินอันดับแรกของหลายคน (mobile first)[3]

อัตราของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยที่ระบุว่าตนซื้อสินค้าออนไลน์อย่างน้อยเดือนละครั้งเพิ่มขึ้นจาก 64 เปอร์เซ็นต์  ในการสำรวจของปี 2557[4] เป็น 66 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ โดยมีระยะเวลาในการช้อปปิ้งออนไลน์ต่อครั้งนานประมาณ 46 นาที ซึ่งเหตุผลหลักๆที่พวกเขาเลือกซื้อสินค้าออนไลน์เป็นเพราะว่า มีการจัดส่งสินค้าถึงลูกค้าโดยตรง (40 เปอร์เซ็นต์) ความสะดวกสบาย (37 เปอร์เซ็นต์) ราคาที่ดีกว่า (15 เปอร์เซ็นต์) และมีสินค้าให้เลือกหลากหลาย (8 เปอร์เซ็นต์)

ประเภทสินค้าและบริการที่เป็นที่นิยมในการช้อปปิ้ง ออนไลน์ได้แก่ ซอฟแวร์ แอพพลิเคชันและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ แอพฯ (53 เปอร์เซ็นต์) อีเวนท์และคอนเสิร์ต (53 เปอร์เซ็นต์) บริการด้านการท่องเที่ยว (47 เปอร์เซ็นต์) เนื้อหาดิจิตอลต่างๆ อาทิ เกมส์ เพลง และวิดีโอ (40 เปอร์เซ็นต์)

นอกจากนี้ผลสำรวจได้แสดงให้เห็นว่า ร้านค้าออนไลน์เสียรายได้จากการยกเลิกการซื้อระหว่างขั้นตอนการทำธุรกรรมการ เงินออนไลน์ (57 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งสาเหตุหลักของการยกเลิกการสั่งซื้อเป็นเพราะ หน้าเพจโหลดช้า (35 เปอร์เซ็นต์)   หน้าตาเว็บไซต์ยากต่อการใช้งาน (24 เปอร์เซ็นต์) กระบวนการซื้อที่ไม่ชัดเจนหรือยาวนานเกินไป (19 เปอร์เซ็นต์) และกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัย (16 เปอร์เซ็นต์)

กระแส เอ็มคอมเมิร์ซ มาแรง แซงทุกโค้ง

ที่ ผ่านมาเทรนด์การใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในตลาดอีคอมเมิร์ซมีมากขึ้น โดยมากกว่าครึ่งของผู้ทำแบบสอบถามใช้อุปกรณ์มือถือเหล่านี้ในการซื้อสินค้า ออนไลน์ และ 32 เปอร์เซ็นต์ของคนกลุ่มนี้ระบุว่าเป็นวิธีชำระเงินที่เขาชื่นชอบที่สุด ซึ่งกระแสความนิยมมีท่าทีที่จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเพราะ 42 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามยังคงเลือกใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเป็นช่องทา งการช้อปปิ้งออนไลน์ในปีหน้า โดยเฉพาะในผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มผู้ชาย

นอกจาก นี้ผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 52 เปอร์เซ็นต์ใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในการชำระค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งอาจมาจากการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของกระเป๋าสตางค์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic wallet) และแอพพลิเคชันในการชำระเงินอื่นๆ

สำหรับผู้ บริโภคหลายคนที่เคยนิยมซื้อสินค้า ณ ห้างร้าน ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนมาการซื้อผ่านช่องทาง เอ็มคอมเมิร์ซมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่นผู้ตอบแบบสอบถามที่เพิ่งเริ่มชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟนและ แท็บเล็ตเมื่อปีที่ผ่านมานิยมซื้อสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กถึง 78 เปอร์เซ็นต์ และซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าอีก 75 เปอร์เซ็นต์ผ่านทางมือถือ

เท รนด์ดังกล่าวถือเป็นข่าวดีสำหรับห้างร้านเพราะผลวิจัยได้เผยให้เห็นว่า มากกว่าสามในสี่ (76 เปอร์เซ็นต์) ของผู้บริโภคสนใจที่จะเลือกซื้อผ่านแอพฯของห้างร้านที่ตนชื่นชอบถ้าห้างร้าน เหล่านั่นมีแอพพลิเคชั่นของตังเองโดยเฉพาะ และเจ็ดในสิบของผู้ตอบแบบสอบถามสนใจที่จะช้อปฯผ่านเว็บไซต์บนสมาร์ทโฟน (68 เปอร์เซ็นต์)

การซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านสมาร์โฟนและแท็บเล็ตไม่ได้เติบโตอย่างเร็วเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น การศึกษาอีกฉบับหนึ่งของวีซ่า[5] ในปี 2558 ได้แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคจาก 13[6] ประเทศไทยเอเชียแปซิฟิคมีการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านอุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ท โฟนและแทบเล็ตมากกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเพิ่มขึ้นจากปี 2557 เฉลี่ย 22 เปอร์เซ็นต์

“ตลาดอีคอมเมิร์ซในอนาคตยังคงมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเพราะมี คนไทยจำนวนมากที่เลือกใช้เทคโนโลยีนี้ในการซื้อสินค้าและบริการ เพราะมีผู้บริโภคนิยมซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตจำนวนมาก ขึ้น วีซ่าในฐานะผู้ให้บริการเครือข่ายชำระเงินที่ครอบคลุมทั่วโลกจึงไม่หยุดที่ จะพัฒนาเทคโนโลยีการให้บริการการชำระเงินให้ทันสมัยเพื่อตอบสนองลูกค้าที่ ต้องการประสบการณ์การช้อปปิ้งที่สะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้นไม่ว่าจะผ่านเว็ป ไทยหรือต่างประเทศ” นายสุริพงษ์ กล่าวปิดท้าย

[1] การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคของวีซ่า จัดทำโดยบริษัทเอคอร์น (Acorn) ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกรกฏาคม 2558 ในรูปแบบออนไลน์ โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 3,000 ราย จากประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ประเทศไทย และเวียดนาม

[2] ข้อมูลมาจาก เว็บไซต์ Internet Live Stats (www.InternetLiveStats.com) ในช่วงระหว่างวันที่ 1 กรกฏาคม 2557

[3] สัดส่วนของผู้บริโภคในซื้อสินค้าออนไลน์ จะขึ้นอยู่กับการใช้งานของผู้ถือบัตรที่ใช้งานอีคอมเมิร์ซ / ผู้ถือบัตรที่ใช้งาน – ข้อมูลได้มาจาก วีซ่าเน็ท (VisaNet) ในไตรมาสที่หนึ่งและไตรมาสที่สองของปี 2558

[4] ผลสำรวจเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปี 2557[4] ของวีซ่า (Visa Consumer Payment Attitudes Study 2014) จัดทำโดยบริษํท BlackBox Research ในเดือนกรกฏาคม 2557 ในนามของวีซ่า โดยมีจำนวนผู้ทำแบบสอบถามในหกประเทศจากทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เท่ากับการสำรวจในปีนี้

[5] การศึกษาเรื่องการสำรวจตลาดอีคอมเมิร์ซในระดับภูมิภาคประจำปี 2558 ของวีซ่าจัดทำโดย บริษัท  ORC International Singapore ในเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2558 โดยมีผู้บริโภคอายุ 15-55 ปี ที่ร่วมทำแบบสอบถามทั้งหมด 11,760 รายจาก 13 ประเทศ

[6] ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ประเทศไทย และ เวียดนาม


Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *