ดีแทคสรุปข้อมูลผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบ INFOGRAPHIC พร้อมเรื่องเครือข่าย TRINET และคู่แข่งที่คุณต้องรู้!!!

ดีแทคสรุปข้อมูลผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบ INFOGRAPHIC พร้อมเรื่องเครือข่าย TRINET และคู่แข่งที่คุณต้องรู้!!!

ดีแทค จัดทำ infographic เกี่ยวกับเทรนด์การใช้งานด้าน 3G ในหลากหลายมิติ ทั้งในด้านของการใช้งานของผู้ใช้งาน พื้นที่ต่างๆ รวมถึง การวางแผนการวางเครือข่ายเพิ่มเติม จากนโยบาย AEC ที่จะเริ่มในปี 2015 ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ เป็นข้อมูลเพียงส่วนหนึ่งจากงานแถลงข่าวเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา พร้อมเปิดตัว Dream Network เตรียมพนักงานกว่า 30 ชีวิต รับแจ้งปัญหาเครือข่ายอับสัญญาณ

ดีแทค กับผู้ใช้งานดาต้า จากข้อมูลที่ดีแทครวบรวมมาเป็นข้อมูลเชิงภาพนั้น ข้อสรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้
– แหล่งใช้งานในกรุงเทพฯ ที่หนาแน่นที่สุด
1. จตุจักร : สวนจตุจักร แหล่งช๊อปปิ้งที่ทุกเสาร์อาทิตย์ต้องไป
2. ปทุมวัน : สยามสแควร์, พารากอน, มาบุญครอง, เซ็นทรัลเวิร์ล ศูนย์ช๊อปปิ้งของคนกรุงเทพฯ
3. บางกะปิ : หนีไม่พ้นตะวันนา เดอะมอลล์บางกะปิ

– จังหวัดที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตหนาแน่นสุด
1. กรุงเทพฯ : ไม่ใช่ก็แปลกแล้ว
2. ชลบุรี : ที่ท่องเที่ยวทั้งบางแสน, พัทยา, รวมถึงแหล่งนิคมอุตสาหกรรม
3. สมุทรปราการ : แหล่งรวมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

เครือข่าย dtac ที่มีให้ใช้งานอยู่ปัจจุบัน สถานีฐานทั้งหมดของดีแทค มีรวมประมาณ 16,000 สถานี (คิด 3G 2100MHz และ 2G 1800MHz รวมกัน) แบ่งเป็น
– 4G 2100MHz ประมาณ 300 สถานีฐาน (ไม่มีแผนลงทุนเพิ่มเติมแล้ว)
– 3G 2100MHz ประมาณ 11,000 สถานีฐาน (ครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว)
– 3G 850MHz ประมาณ 5,600 สถานีฐาน (จากเดิมไม่มีแผนลงทุนเพิ่มเติม แต่มีการเลื่อนการประมูล 1800MHz ไป อาจจะมีการลงทุนเพิ่มเติม เพราะสัมปทานยังเหลืออีก 5 ปี)
– 2G 1800MHz ประมาณ 11,000 สถานีฐาน (3G 2100MHz อยู่ตรงไหน มี 2G 1800MHz ประกบตลอด)

รูปแบบการทำงาน dtac TriNet Network หากสมาร์ทโฟนที่ใช้งานรองรับ 4G และอยู่ในพื้นที่บริการ จะมีการทำงานดังต่อไปนี้
– ตัวเครื่องจะทำการจับสัญญาณ 4G 2100MHz ก่อน
– เมื่อไม่มีคลื่น 4G 2100MHz จะมาทำการจับ 3G 2100MHz
– หากพื้นที่นั้นไม่มี 3G 2100MHz ตัวเครื่องจะมาจับสัญญาณ 3G 850MHz
– หากมีสายเรียกเข้า เมื่อมีการรับสาย จะจับสัญญาณ 2G 1800MHz
– เมื่อมีการวางสายแล้ว สมาร์ทโฟนจะไปเริ่มต้นกระบวนการใหม่ ตั้งแต่ข้อแรก

ปัญหาของ dtac TriNet Network ช่วงที่ผ่านมา
หนึ่งในทีมวิศวกรของดีแทค ยอมรับว่าช่วงเวลาที่ผ่านมา ได้รับคำติชมเรื่องของการใช้งานเป็นอย่างมาก เพราะด้วยรูปแบบเครือข่ายที่ลงทุนใหม่ทั้งหมด รวมถึงคลื่นสัญญาณที่เรามี เอื้อให้ทางเราสามารถทำ Network Switching ไปยังคลื่นสัญญาณที่เหมาะสมกับการใช้งาน ด้วยปัจจัยต่างๆ ทั้งเครื่องสมาร์ทโฟน ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ รวมถึงพื้นที่ให้บริการที่มีความหนาแน่นต่างกัน ทำให้การใช้งานต่างๆ ทั้งเรื่องของ voice และ data มีปัญหาบ้าง

แต่ในช่วงเร็ววันนี้ ทีมงานของเราพยายามตั้งค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ของตัวสถานีฐาน ให้เหมาะสมกับเครื่องที่ใช้งานทุกยี่ห้อ ทุกแบรนด์ที่มีความเป็นไปได้ในการใช้งานในประเทศไทย ให้เหมาะสมกับการใช้งานรูปแบบต่างๆ ซึ่งน่าจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปีนี้

ดีแทคพร้อมตั้งรับการเลื่อนการประมูลคลื่น 1800MHz ออกไปอีก 1 ปี
เมื่อมีการเลื่อนการประมูลออกไปอีก 1 ปี ดีแทคได้รับผลกระทบน้อยมาก เพราะด้วยคลื่นความถี่ที่รองรับ 3 คลื่นความถี่ ยังสามารถรองรับได้ลูกค้าเพียงพอในระยะเวลา 1-2 ปีนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้ ได้มีการลงทุนเพิ่มเติม ในการติดตั้งสถานีฐาน 3G 2100MHz อีกราว 500 สถานี และสถานีย่อย (Small Cell) อีก 250 สถานี เติมเต็มในสถานที่ที่อับสัญญาณ และให้ครอบคลุมพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น

3G 2100MHz ไม่ใช่คำตอบของผู้ให้บริการเสมอไป
รายงานวิเคราะห์โดย เจ.พี. มอร์แกน (JP Morgan : Asia Pacific Equity Research, 26 May 2014) ระบุว่า หากเทียบการให้บริการ 3G 2100MHz ช่วงคลื่น 5MHz ทั้ง 3 โอเปอเรเตอร์ ในช่วงเวลาหนึ่งพบว่า
อันดับ 1 (ค่ายสีเขียว) ต้องรองรับโหลดคนใช้งานมากถึง 830 เลขหมาย
อันดับ 2 (ดีแทค) รองรับโหลดเพียง 66 เลขหมาย
อันดับ 3 (ค่ายสีส้ม) รองรับโหลดเพียง 90 เลขหมาย

“Dream Network” หนึ่งในภารกิจใหม่ วิเคราะห์ลงลึกตำแหน่งพื้นที่ใช้งานจริงเพื่อปรับปรุงคุณภาพ
ด้วยความต้องการให้ดีแทคเป็นที่สุดของเครือข่ายที่ตอบสนองการใช้งานที่ดีที่สุด จึงได้ตั้งภารกิจ “Dream Network” ด้วยการจัดทีม “Dream Team” กว่า 30 ชีวิต พร้อมประจำการเพื่อรับข้อร้องเรียนต่างๆ รวมไปถึงการเฝ้าระวัง วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหา เพื่อตอบโจทย์บริการที่รวดเร็วและประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าดีแทค ไตรเน็ต โดยให้พนักงานดีแทคทุกคนร่วมในปฏิบัติการสำคัญครั้งนี้ด้วย “เสียง” ของพนักงานทุกคน ในการรายงานปัญหาการใช้งานทั้งด้านการโทร (Voice) และการใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือ หรือดาต้า ซึ่งจะเริ่มต้นโครงการนี้ประมาณ สิงหาคมที่จะถึงนี้

แผนอนาคตของเครือข่ายที่พร้อมลงทุนใหม่
ดีแทค มองถึงการลงทุนเครือข่ายใหม่ ในรูปแบบ Focus Area คือ
1. การปูพรมสัญญาณทุกพื้นที่ใช้งานในกทม. และปริมณฑล (Full Blanket) – เพื่อให้มั่นใจการครอบคลุมของสัญญาณทั้งกรุงเทพฯ นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และฉะเชิงเทรา ทั้งนี้สัญญาณใหม่จะดำเนินการทั้ง Macro site และ Micro site เชื่อมต่อสัญญาณให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ต่างๆให้สมบูรณ์และครอบคลุมมากขึ้น
2. โครงข่ายพร้อมต่อเนื่องสำหรับดาต้าที่ไม่เคยหยุดนิ่ง – การจัดการรองรับพื้นที่การใช้งานดาต้าที่มีความต้องการพร้อมวิเคราะห์และวางแผนสาธารณูปโภคของโครงข่ายรองรับการใช้งานในพื้นที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตทุกสถานการณ์  เช่น แหล่งฮิตของการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือของคนกรุงเทพฯ จังหวัดที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือสูงสุด จังหวัดที่มีการเติบโตของสมาร์ทโฟนสูงสุด และช่วงเวลาที่คนใช้งานสูงสุด เป็นต้น
3. การขยายโครงข่ายสำหรับเมืองเติบโต – การสร้างเมืองและรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มีความสำคัญทางการเติบโตทั้งการลงทุนและเศรษฐกิจของภาคอสังหาริมทรัพย์ เช่น ขอนแก่น ประจวบคีรีขันธ์ และลำพูน เป็นต้น
4. โครงข่ายไลฟ์สไตล์เพื่อรองรับการท่องเที่ยว – โดยปัจจุบันนี้ไลฟ์สไตล์ของคนเดินทางท่องเที่ยว นิยมการใช้งานที่เชื่อมต่อกับโซเชียลเน็ตเวิร์ก ทำให้ไม่พลาดการอัพโหลดเชื่อมต่อทุกข้อมูลของการใช้งาน และการ Post & Share ทุกการเดินทางของการท่องเที่ยวในเมืองไทย

ทั้งนี้ ดีแทค ไตรเน็ต ได้เปลี่ยนโครงข่ายสถานีฐานทุกแห่งจาก 2G รองรับ 3G 2100MHz ทั่วประเทศเรียบร้อยตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เพื่อตอกย้ำความเป็น 3 โครงข่ายอัจฉริยะรายเดียวในประเทศที่มีคลื่นความถี่มากที่สุดถึง 3 คลื่น คือ 850 MHz 1800 MHz และ 2100 MHz รวมเป็นแบนด์วิธที่กว้างที่สุด และการใช้งาน 3G บน 2100MHz ที่ครอบคลุมทุกอำเภอทั่วไทย ตอกย้ำกลยุทธ์ Internet for All ที่มุ่งเน้นการทำให้คนไทยทั่วประเทศสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและใช้งานได้เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าดีแทคในการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในทุกสถานการณ์อีกด้วย